ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

chigunkunya


   มีข่าวออกมาว่า ตอนนี้โรคชิกุนคุณย่า(เป็นคุณยายได้มั้ย)ระบาดในสามจังหวัด

ผมหาข้อมูลโรคนี้ใน internet ไม่ค่อยเจอเลย จำได้ลางๆว่า น่าจะมีใน harrison (แต่ก็ไม่มี harrison แถวนี้) กับไข้ออกผื่นสักที่นี่ล่ะ

มีใครพอจะมาเล่าเรื่องโรคนี้ให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ

. . .


Posted by : arlim , Date : 2008-10-17 , Time : 23:17:24 , From IP : 118.173.191.17.adsl.

ความคิดเห็นที่ : 1


   Gilles Pialoux G, et al. Chikungunya, an epidemic arbovirosis. Lancet ID 2008;7:319-27.

Chikungunya เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจาก arbovirus โรคหนึ่งที่ถูกนำโดยยุง aedes
พบ Chikungunya virus ครั้งแรกที่ Tanzania ในปี 1953 Chikungunya virus อยู่ในgenus Alphavirus และ family Togaviridae โรคนี้เป็นการเจ็บป่วยฉับพลันโดยมีลักษณะโรคที่สำคัญคือ ไข้ ผื่น และปวดข้ออย่างมาก

“chikungunya” มีความหมายว่า“เดินหลังค่อม (to walk bent over)” ในภาษาอัฟริกัน (Swahili หรือ Makonde) ซึ่งเป็นผลของการปวดข้ออย่างรุนแรง (incapacitating arthralgia)

Chikungunya เป็นโรคเขตร้อน โดยเป็นอยู่เฉพาะที่และพบไม่บ่อยว่ามี outbreak เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2005 มี 2 outbreak ใหญ่เกิดขึ้น คือ
1) ใน Réunion มี outbreak ซึ่งเกิดต่อเนื่อง ซึ่งมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 266 000 คน โดยคาดว่า Aedes albopictus เป็น vector และ
2) ใน อินเดีย ในปี 2006 มี outbreak ที่เป็นไปเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่า Aedes aegypti เป็น vector โดยมีประชากร 1 400 000 รายที่ป่วยเป็น chikungunya

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมจึงเกิด chikungunya ปรากฏขึ้นอีกใน Indian subcontinent และทำไมอุบัติการณ์จึงสูงขึ้นอย่างมาก เหตุผลที่อาจอธิบายได้คือ มีการท่องเที่ยวมากขึ้น, มีประชากรที่ไม่เคยสัมผัสกับ chikungunya virus และ viral mutation


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-10-20 , Time : 08:31:41 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 2


   Clinical manifestations
Common chikungunya virus infection
ระยะฟักตัวของโรคติดเชื้อ Chikungunya โดยเฉลี่ย คือ 2–4 วัน (range 1–12 วัน) ผู้ป่วยมีไข้สูงขึ้นทันที (abrupt onset) ร่วมกับปวดหัว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และปวดข้อ

อาการปวดข้อมักปวดรุนแรงโดยเป็นกับข้อเท้า ข้อมือ และอาจเป็นกับข้อใหญ่ๆ ได้

พบว่ามีรอยโรคที่ผิวหนังได้ประมาณ 40–50% ของผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วย
(1) pruriginous maculopapular rash มักเป็นที่ลำตัว,
(2) facial edema, หรือ
(3) ในเด็ก เป็น bullous rash ซึ่งจะมีผิวหนังลอกตามมา และ (
4) localised petechiae และเลือดออกตามไรฟัน (พบในเด็กเป็นส่วนใหญ่)
มีรายงาน hemorrhagic fever ที่เกิดจาก chikungunya virus ในประเทศไทย




Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-10-20 , Time : 08:34:29 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 3


   
Arthralgia and arthritis

อาการปวดข้ออย่างรุนแรงและเป็นซ้ำเป็น hallmark ของ chikungunya, แม้ว่าจะพบน้อยในเด็ก อาการปวดข้อนี้เป็นอยู่ได้นานหลายเดือน ยังไม่รู้ underlying mechanism ของข้ออักเสบใน Chikungunya Arthralgia/arthritis พบในผู้ป่วย 73–80% ที่มี serologically confirmed chikungunya virus infection 33% ของผู้ป่วยปวดข้ออยู่นาน 4 เดือน, 15% นาน 20 เดือน, และ 10% นาน 3–5 ปี การตรวจทางรังสีพบว่าปกติ และ biological markers of inflammation ปกติหรือสูงขึ้นปานกลาง

Severe forms affecting adults in Réunion

โดยทั่วไปแล้วไม่ได้จัด Chikungunya เป็นโรคที่รุนแรงถึงตาย ในฤดูร้อนของปี 2006 มีผู้ป่วยที่เสียชีวิต 155 รายที่อาจเกิดจาก chikungunya โดยตรงหรือโดยทางอ้อมใน Réunion outbreak. เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2006, French health authorities ได้รายงาน 96 serologically documented cases ของประชากร Réunion ที่ต้องรับการรักษาใน ICU โดย 79 รายเป็นผู้ใหญ่ อัตราชายต่อหญิง 1.4 ผู้ป่วยที่ตาย 228 รายมีอายุเฉลี่ย 78 ปี อุบัติการณ์ของ severe chikungunya virus infection จากการคาดคะเนอย่างสูงสุดคือ 34 รายต่อประชากร 200 000 คน (น้อยกว่า 0.02%) นี่เป็นครั้งแรกที่ chikungunya เกิดขึ้นในประเทศที่ปลอดจากโรคเขตร้อน (ยกเว้น dengue) และมีสาธารณสุขระดับยุโรป

มีรายงานผู้ป่วย severe chikungunya อยู่บ้าง เช่น ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท มีรายงานในผู้ป่วยจำนวนน้อยใน Indian outbreak ครั้งแรกในปี 1973 และครั้งหลัง มีรายงานการแยก chikungunya virus ได้ในเด็ก 2 รายที่มีอาการแสดงของ encephalitis และ meningitis


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@!medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-10-20 , Time : 12:45:12 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 4


   ขอบคุณครับ

รู้สึกว่าโรคนี้ไม่รุนแรงถึงตาย แล้วเป็นครั้งเดียวก็มีภูมิตลอดชีวิต

แล้วต้องรายงานการพบผู้ป่วยด้วยเหรอครับ...?


Posted by : arlim , Date : 2008-10-21 , Time : 00:31:24 , From IP : Nat-Pool-61-19-67-14

ความคิดเห็นที่ : 5


   ที่หน้าแรกของเวปคณะแพทย์ มีรายละเอียดของโรคชิกุกุนยาอยู่ด้วยครับ แต่อาจจะเหมาะกับประชาชนทั่วไปมากกว่าครับ

http://medinfo.psu.ac.th/pr/pr2008/Pr20081022_Chikungunya.doc


Posted by : harder , Date : 2008-10-23 , Time : 13:48:06 , From IP : 172.29.22.43

สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น