ความคิดเห็นทั้งหมด : 6

ผู้ป่วยที่ถูก rape ควรได้รับ ARV prophylaxis หรือไม่


   มีคำถามจากคุณหมอกนกกาญจน์ ดังนี้ค่ะ

1.กรณีคนไข้ rapeในปัจจุบัน เราควรให้กินยา ARV prophylaxis ด้วยหรือไม่

กนกกาญจน์

โรงพยาบาลเทพา


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-10-14 , Time : 14:58:49 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   ให้ทุกราย ครับ ..

Posted by : sagittareusinternist , Date : 2008-10-16 , Time : 19:29:23 , From IP : 172.29.5.213

ความคิดเห็นที่ : 2


   ่น่าจะพิจารณาหลายเงื่อนไขเลยนะครับ
1. เวลาที่ถูก rape นานแค่ไหนแล้ว กว่าจะมารพ.
2. ผู้ rape (raper?) เป็นใคร มีความเสี่ยงแค่ไหน หรือเป็น unknown sauce
3. ผป.ต้องได้รับการ counselling ก่อนการได้ ARV มีผู้ทำหน้าที่นี้หรือไม่
4. status เดิมของผู้ป่วย ... เด็ก ผู้ใหญ่(CD4 ปกติ) สตรีมีครรภ์ etc.; แล้วรพ.เรามียาให้เขาทานหรือไม่ (ชีวิตรพช.ก็ต้องคิดมากอย่างนี้ล่ะครับ)

ก็พิจารณาตามหลัก PEP ครับ ว่าจะให้ยา 2 ตัวหรือ 3 ต้ัว หรือไม่ให้

. . .


Posted by : arlim , Date : 2008-10-17 , Time : 00:47:12 , From IP : Nat-Pool-61-19-67-12

ความคิดเห็นที่ : 3


   ขอเพิ่มเติมจากคุณ arlim นะครับ
- จำนวนครั้งที่มี SI
- Route เช่น oral-vagina-anal
- มีอะไรป้องกันหรือไม่ เช่น condom
- ประเมินความเสี่ยงครับ ในรายที่มี risk mild , moderate อาจจะ advice เรื่องความเสี่ยงและให้เลือกที่จะกินหรือไม่กินยา ARV แต่ผมคิดว่าเราก็ควรเชียร์ให้ผู้ป่วยกินยาจะดีกว่าครับ (ส่วนตารางประเมินความเสี่ยงนี่ผมจำไม่ได้แล้วครับว่าใช้ guideline ของอะไร จำได้คร่าวๆตอนเรียน OB-GYN ครับ)


Posted by : harder , Date : 2008-10-18 , Time : 17:31:01 , From IP : 172.29.22.43

ความคิดเห็นที่ : 4


    ในกรณี rape จัดเป็น nonoccupational post exposure prophylaxis จริงๆแล้วก็ไม่มี data ที่เป็น RCT เกี่ยวกับกรณีนี้ เนื่องจากผิด ethic แน่ๆค่ะ

การจะให้ nPEP หรือไม่นั้นต้องประเมิน
1. HIV status ทั้งผู้ถูก rape และตัวผู้ร้ายถ้าเอามาตรวจได้ค่ะ
- ถ้าผู้ถูก rape มี HIV positive อยู่แล้วก็ไม่ให้ nPEP
- ถ้าผู้ร้าย HIV negative ก็ไม่จำเป็นต้องได้ nPEP เช่นกันค่ะ
- ถ้า unknown status ของตัวผู้ร้าย ไม่สามารถมาตรวจได้ ก็ต้องดูองค์ประกอบอื่นๆค่ะ เช่นถ้าผู้ร้ายเป็นกลุ่มเสี่ยงอยู่แล้ว เช่น IVDU หรือมีประวัติ unsafe sex บ่อยๆก็พิจารณาข้อถัดไปค่ะ

2. ดูระยะเวลาและ character ของเหตุการณ์ครั้งล่าสุด เนื่องจากความเสี่ยงในการเกิด HIV transmission ไม่เหมือนกัน
- แนะนำว่าถ้ามาโรงพยาบาลเกินกว่า 72 ชั่วโมงแล้วก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่ะ
- จากข้อมูลปัจจุบัน ยกตัวอย่างกรณีทั่วไป คือ ผู้ถูก rape เป็น receptive penile-vaginal intercourse จากผู้ร้ายที่ HIV positive จะมีโอกาสติดประมาณ 10/10,000 ดังนั้นถ้าผู้ถูก rape มาภายในเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก็พิจารณาว่ามี risk หรือไม่ค่ะ

risk ก็คือ มีการ expose ต่อ vagina, rectum, eye, mouth, mucous membrane, nonintact skin, หรือ percutaneous contact ด้วย blood, semen, vaginal secretion, rectal secretion, breast milk หรือ body fluid ที่ contaminated with blood ถ้ามี risk เหล่านี้ก็ควรให้ค่ะ

ถ้าเป็น urine, nasal secretion, saliva, sweat, tears ที่ไม่ contaminated ด้วยเลือด ไม่ถือว่าเป็น risk ไม่ต้องให้ nPEP ค่ะ

3. ดู frequency ของ HIV exposure เนื่องจากถ้าผู้ถูก rape รายนั้นมีประวัติโชกโชนที่ expose ต่อ HIV บ่อยๆอยู่แล้ว มีประวัติได้ nPEP บ่อยๆ หรือมี partners หลายคนก็ไม่ควรให้ค่ะ เนื่องจากยาก็ไม่ใช่ 100% effective และเพิ่มโอกาสเกิด ADR, toxicities, และ resistance ได้ค่ะ

4. อย่าลืมดู concomitant infection ให้ผู้ป่วยด้วยค่ะ

สรุปก็คือว่าจะให้ nPEP ในกรณีที่เหตุการณ์นั้นมี risk ต่อ transmission จริง และมาโรงพยาบาลไม่เกิน 72 ชั่วโมงค่ะ ถ้าผู้ร้าย HIV positive จะให้ทุกราย ถ้าผู้ร้ายไม่ทราบ HIV status จะพิจารณาเป็นรายๆไปดังที่กล่าวมาค่ะ

อาจจะไม่ครบถ้วน ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ค่ะ


Posted by : aomnaka , E-mail : (aomnaka@yahoo.com) ,
Date : 2008-10-20 , Time : 02:29:30 , From IP : 172.29.7.157


ความคิดเห็นที่ : 5


   ถ้าเจอเคสเด็กเล็กๆนี่ หนักใจเลยนะ

(เพิ่งเจอเด็ก 2 ขวบน่ะ แต่ตรวจแล้ว ยังไม่ถึงขั้นถูก rape โล่งไปที)



Posted by : arlim , Date : 2008-10-21 , Time : 00:32:52 , From IP : Nat-Pool-61-19-67-14

ความคิดเห็นที่ : 6


   น้องออมตอบได้ครบถ้วนดีแล้วครับ

ในอีกด้านที่ต้องคำนึงคือ เรามักจะนั่งสาธยาย risk and benefit ต่างๆให้ผู้ปกครองที่ไม่อยู่ในสภาพจิตใจที่จะทำกระบวนการ inform consent ได้ ดังนั้นแพทย์ควรพิจารณาการรักษาเบื้องต้นและสั่งการรักษาให้ก่อนเลยดังกรณี life saving condition ครับ กว่าที่จะตามจับผู้ก่อการมาได้ กว่าจะผ่านกระบวนการของเจ้าพนักงานสอบสวน (หลังจากผ่านประชาทัณฑ์แล้วในบางครั้ง) ก็คงจะช้าเกินไป จึงไม่แปลกเลยที่สุดท้ายหมอก็จำเป็นต้องเลือกให้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันในที่สุดแทบทุกราย

ส่วนรายละเอียดการให้ยาหาดูในหัวข้อที่ผ่านมาได้ครับ

อ.พิสุทธิ์


Posted by : - , E-mail : (spisud@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-10-27 , Time : 07:05:39 , From IP : static-70-108-248-15


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น