How to approach in Acute febrile illness.....Dear... Aj Pantip.I have some of the top hit questions in infectious disease. That ,how to get the diffrential diagnosis in acute febrile illness for my little experience knew that all this group rather hard to distinguish from one another although may books was read!!!. Could you please suggest me(us) the clue about specific charactors for eash pathogen such as, history ,epidermiology ,CBC show. sincerly yours, Thanapon Posted by : thanapon , E-mail : (naponyorwor@hotmail.com) , Date : 2008-05-23 , Time : 20:50:36 , From IP : 125.24.107.190.adsl. |
เรียนคุณหมอ Thanapon ขอบคุณมากค่ะที่คุณหมอถามมา คำถามของคุณหมอดีมากๆ เพราะเป็นเรื่องที่ practical และทำให้บรรยากาศของ e-consult สนุกขึ้น ขอเรียนอาจารย์ขจรศักดิ์, อาจารย์พิสุทธิ์ และอาจารย์สุเทพ มาร่วมให้ความเห็นเพิ่มเติมเรื่องนี้ด้วยค่ะ topic นี้และอื่นๆเปิดกว้างสำหรับทุกท่านะคะ จะแสดงความคิดเห็น จะถามเพิ่ม หรือจะเอา case ที่มีปัญหาในการวินิจฉัยหรือการรักษามาแสดง/ปรึกษาก็ได้ค่ะ เราจะได้เรียนรู้ไปด้วยกัน Approach to acute febrile illness (AFI, ถ้าเรียกให้ถูกต้องก็คือ acute undifferentiated fever) ตามที่คุณหมอถามมา คงต้องตอบแยกเป็นตอนๆ และต้องขอทบทวนและเรียบเรียงความคิดเพื่อหา clue ของลักษณะจำเพาะของแต่ละโรค จากประวัติและการตรวจร่างกาย ระบาดวิทยา และ CBC ตามที่คุณหมอเสนอมา เพื่อจะให้ง่ายขึ้นก็จะขอนำ case ที่ได้พบมาประกอบคำอธิบายด้วย ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจว่า 1. Acute fever คือไข้ที่ไม่นานเกิน 14 วัน 2. เราจะเรียกว่า AFI ต่อเมื่อซักประวัติและตรวจร่างกายแล้วยังไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่ระบบหรืออวัยวะใด และไม่มีลักษณะใดที่จะบอกได้ว่าเป็นการติดเชื้อชนิดใด ซึ่งโรคที่พบบ่อยในกลุ่มนี้มี 6 กลุ่ม (8 โรค) คือ 1. Viral infection: Dengue fever Influenza 2. Rickettsiosis ที่พบบ่อยในประเทศไทยคือ scrub typhus และ murine typhus 3. Leptospirosis 4. Malaria 5. Typhoid fever 6. Bacteremia ซึ่งจะยึดเอา ทั้ง 8 โรค เป็นหลัก วันนี้ขอเกริ่นก่อนนะคะ และจะตอบมาทีละส่วน ขอเวลาเรียบเรียงก่อนค่ะ พรรณทิพย์ Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-05-24 , Time : 09:42:11 , From IP : 172.29.3.68 |
หลังจากที่คิดทบทวนอยู่ 2 วันก็ได้ความคิดขึ้นมาว่า ถ้าจะเขียนตอบไปตรงๆ เป็นแบบบรรยาย ก็คงน่าเบื่อเหมือนอ่านหนังสือหรือตำรา น่าจะสนุกกว่าไหมถ้าเรามาช่วยกันคิดหาคำตอบจากประสบการณ์ของเรา แล้วเราอาจช่วยกันสร้าง algorithm ขึ้นมาได้ ดิฉันจะรอคำตอบอยู่ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะให้คำตอบจากประสบการณ์ของตัวเอง และจะตั้งคำถามข้อใหม่ คำถามข้อแรกคือ "สาเหตุของ AFI ที่พบบ่อยในภาคใต้มีโรคอะไรบ้าง" หรือ "ผู้ป่วย AFI ที่ท่านพบ ส่วนใหญ่เป็นโรคอะไร" ถ้ากรุณาแจ้งว่าท่านทำงานอยู่ที่ไหนด้วยก็ยิ่งดีค่ะ Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-05-27 , Time : 11:36:21 , From IP : 172.29.3.68 |
1. AFI ที่พบบ่อยในภาคใต้ เท่าที่พบได้แก่ DF, Influenza, Malaria, Leptospirosis, scrub typhus และ bacteremia ค่ะ 2. AFI ที่พบที่ทำงานปัจจุบัน (รพ.ศิครินทร์) ได้แก่ DF และ Influenza ค่ะ ส่วนโรคอื่นๆยังไม่พบค่ะ อาจจะเป็นเพราะเพิ่งเข้าทำงานใหม่ค่ะ Posted by : nongnham , E-mail : (nongnham025@gmail.com) , Date : 2008-05-31 , Time : 16:21:29 , From IP : 172.29.3.68 |
About malaria history :live in endemic area travel to endemic area endemic area : such as Burma,Vietnam and Thailand the province that joint border of the endemia area mention above history of pattern of fever (that can be found in after 1 wk of infestration) : ovale malariae but in PF may not be found the pattern specify because of high parasitemia. PE : - rarely found lymphdenopathy - rarely found flush face,or petechiae - incerebral malaria : mostly involved diffuse brain pathology - associated with jaundice,hepatomegaly that not have otherwise liver syndrome - may be have the myalgia but not severe like influenza - if got the cerebral malaria(present with coma or alteration of consciousness) associated with hypoglycemia thanapon Posted by : thanapon , E-mail : (naponyorwor@hotmail.com) , Date : 2008-05-31 , Time : 21:05:03 , From IP : 118.173.148.24.adsl. |
ขอบคุณคุณหมอ Thanapon มากค่ะ เราจะเริ่มต้นด้วยมาลาเรียนะคะ Malaria ฤดูกาล เป็นมากในฤดูฝน เพราะมีมีน้ำขัง ยุงวางไข่ได้มาก ทำให้มียุงมาก เพศ เป็นได้ทั้งหญิงและชาย เชื้อชาติ สำคัญ ปัจจุบัน เรามีแรงงานต่างชาติ เป็นพม่าและเขมรมากขึ้น เขามีโอกาสเป็นมาลาเรียได้สูงจากการได้รับเชื้อที่ประเทศเขาเอง หรือระหว่างการเดินทางผ่านมาทางกาญจนบุรี ราชบุรี ชุมพร ซึ่งเป็น endemic area ของมาลาเรีย เร็วๆนี้ มี ผู้ป่วยเป็นชายพม่า อายุ 20+ ปี เป็นไข้หนาวสั่นมา 5 วัน ซึมลงก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมารับจ้างกรีดยางอยู่ที่สะเดา กลับไปพม่าเมื่อ 2 เดือนก่อน เพิ่งกลับมา 2 สัปดาห์ มีไข้หลังกลับมา 9 วัน มาที่รพ. แพทย์ที่พบผู้ป่วยคนแรกให้ความสำคัญกับเรื่องซึม และคิดไปถึงโรคทางสมอง จึงได้ส่ง CT scan ซึ่งผลออกมาปกติ blood smear พบ ring form ของ P. falciparum อายุ เป็นได้ทุกวัย อาชีพ ต้องเข้าสวนเข้าป่า เช่น กรีดยาง ที่อยู่/ท่องเที่ยว อยู่หรือเข้าไปในชนบท ถ้าเข้าไปเที่ยวหรือเพิ่งมาอยู่ที่นั่น ยังไม่มีภูมิต้านทานก็จะมีโอกาสเป็น severe malaria ได้มาก ควรถามประวัติการเข้าสวนเข้าป่าในระยะเวลาภายใน 2 เดือนในผู้ป่วยที่มีไข้ทุกราย breeding place ของยุงก้นปล่อง (Anopheles) ขึ้นอยู่กับ species ซึ่งเป็นได้ตั้งแต่ป่าทึบ สวนยาง ที่มีน้ำใสไหลรินเช่น น้ำตก และลำธาร รวมทั้งชายทะเลซึ่งยุงจะวางไข่ที่น้ำกร่อย (ตามหินที่มีน้ำทะเลผสมกับน้ำฝน) เนื่องจากยุงก้นปล่องกัดคนกลางคืน จึงต้องถามว่าไปค้างคืนหรือไม่ หรืออาจเข้าถ้ำที่มืดๆก็ได้ อาการไข้ มีไข้และหนาวสั่นก็ต้องนึกถึงมาลาเรียและ bacteremia เพราะเป็นโรคที่มี specific treatment ที่ได้ผลดี ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจตายได้ falciparum malaria ในวันแรกๆ อาจมีไข้สูงลอย ยังไม่มีหนาวสั่น หรืออาจมีหนาวสั่นแต่เป็นทุกวัน จนกระทั่งเข้าสัปดาห์ที่ 2 จึงมีไข้หนาวสั่นวันเว้นวัน (malarial paroxysm) การศึกษาที่ศูนย์มาลาเรียพระพุทธบาทสระบุรีพบว่า ผู้ปวย falciparum malaria มีเพียง 10% เท่านั้นที่จให้ประวัติจับไข้หนาวสั่นเป็นเวลา ส่วนใหญ่เป็นไข้สูงลอย ดังนั้น การไม่มีไข้หนาวสั่นจึงไม่สามารถตัดทิ้งมาลาเรียได้ ส่วน vivax malaria จะมีลักษณะของการจับไข้และมีหนาวสั่นที่ typical มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน relapsed vivax malaria จะมีไข้หนาวสั่นวันเว้นวันตั้งแต่เริ่มเป็นไข้เลย อาการที่สำคัญอื่นๆ มีอาการของระบบต่างๆได้มากซึ่งไม่ specific แต่ต้อง recognize ได้ว่าเป็นอาการของ severe and complicated malaria หรือไม่ คำถามเพิ่มเติม ยังจำได้ไหมว่า severe malaria มีอะไรบ้าง Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@gmail.com) , Date : 2008-06-02 , Time : 17:13:54 , From IP : 172.29.3.68 |
ข้อมูลทางระบาดวิทยาของมาลาเรียจากสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ ผู้ป่วยมาลาเรียในประเทศไทย (คน) 2550 30,338 2549 27,381 10 จังหวัดแรกที่พบมาลาเรียจากมากไปน้อย ได้แก่ ยะลา ตาก สงขลา แม่ฮ่องสอน ชุมพร นราธิวาส ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี และจันทบุรี พบผู้ป่วยชายแดนไทย-พม่า 44.75% และ ไทย-มาเลเซีย 38% Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-06-03 , Time : 12:16:36 , From IP : 172.29.3.68 |
ขอโทษที่ตอบช้าค่ะ เพราะมีปัญหาเข้า web ไม่ได้ค่ะ ประวัติที่ช่วยในการ Diagnosis AFI ที่เกิดจากสาเหตุต่างๆค่ะ 1. Dengue fever พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ อาการ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่สามารถแบ่งอาการได้ 3 รูปแบบคือ แบบแรกพบในเด็กเล็ก มักมีไข้สูงอย่างเดียว หรือมีผื่นแบบ maculopapular ร่วมด้วย แบบที่สองคือไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ซึ่งพบในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ แบบที่สามคือมีอาการ shock (dengue shock syndrome, DSS) 2. Influenza พบในผู้ใหญ่ อาการ มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด แต่มีปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ 3. Malaria ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่ และอาจจะมีประวัติเข้าป่า อาการ มักมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการไข้จับสั่น อาจจะเป็นวันเว้นวัน หรือวันเว้นสองหรือสามวันก็ได้ บางรายอาจมีชักร่วมด้วย 4.Typhoid มีประวัติรับประทานไข่ หรืออาหารที่ทำจากไข่ อาการ มีไข้สูงลอยติดต่อกันนานเกิน 1 สัปดาห์ และมีถ่ายเหลวร่วมด้วย 5.Scrub typhus ส่วนใหญ่พบในอาชีพเกษตรกร อาจมีประวัติถูกไรกัด อาการ มีไข้สูงมาก ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว หรือไอแห้งๆร่วมด้วย อาจพบ eschar ในที่ซอกอับ ใต้ร่มผ้า 6.Murine typhus ผู้ป่วยมีประวัติสัมผัสหนู อาการมีไข้นำมาก่อน ต่อมามีปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน และอาจมีผื่นแบบ maculopapular rash พบที่ลำตัวมากกว่าแขน 7.Bacteremia พบในผู้ป่วยสูงอายุ มักมี underlying disease เช่น DM อาการ มีไข้สูง และอาจจะดูซึมลง บางรายมาด้วยไข้สูงและไม่รู้สึกตัว 8.Leptospirosis มีประวัติลุยน้ำ หรือสัมผัสฉี่หนู อาการ ระยะ 4-5 วันแรก มักมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่น่อง หลัง และต้นคอ และมีคลื่นไส้ อาเจียน ตาแดงร่วมด้วย Posted by : Nongnham , E-mail : (Nongnham025@gmail.com) , Date : 2008-06-03 , Time : 14:13:28 , From IP : 222.123.138.50 |
Criteria for severe Malaria (WHO, 2006) I. Clinical criteria 1. Prostration 2. Impaired consciousness 3. Respiratory distress (acidotic breathing) 4. Multiple convulsions 5. Circulatory collapse 6. Pulmonary edema 7. Abnormal bleeding 8. Hemoglobinuria II. Laboratory test 1. Severe anemia 2. Hypoglycemia 3. Acidosis 4. Renal impairment 5. Hyperlactatemia 6. Hyperparasitemia WHO. Guidelines for the treatment of malaria. Geneva, 2006. Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-06-05 , Time : 10:20:54 , From IP : 172.29.3.68 |
Dear... The paticipient There are the ramnant section for malaria ? further discussion ? Or may be lets go for the other one??? Posted by : thanapon , E-mail : (naponyorwor@hotmail.com) , Date : 2008-06-08 , Time : 21:18:44 , From IP : 118.173.152.92.adsl. |
วันนี้จะเริ่มต่อด้วย influenza นะคะ ทุกท่านสามารถให้ความเห็นเสริมได้ค่ะ Influenza อายุ เป็นได้ทุกวัย อาชีพ เนื่องจากต้องนึกถึง avian flu ด้วย ต้องถามว่าเลี้ยงไก่ เลี้ยงนกหรือไม่ มีไก่ตายเป็นจำนวนมากหรือไม่ ที่อยู่ human influenza พบในคนเมืองมากกว่า เพราะมีผู้คนแออัด ติดต่อกันได้ง่ายทางการหายใจ อาการไข้ ไข้สูงตั้งแต่แรก ไม่ควรมีหนาวสั่นยกเว้นกินยาลดไข้แล้วพอหมดฤทธิ์ยาไข้ขึ้นเร็วก็มีหนาวสั่นได้ อาการที่สำคัญอื่นๆ อาการหลักที่ทำให้นึกถึง influenza คือ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยทั้งตัว และเพลียอย่างรวดเร็ว (fever, headache, myalgia and prostration มี 4 อย่างนี้ เรียก flu-like symptom ซึ่งพบได้ในโรคอื่นๆ ด้วย) ร่วมกับมีการระบาดของ influenza ในขณะนั้น โดยได้ประวัติคนในครอบครัวหรือผู้ร่วมงานป่วย เหมือนๆกัน ผู้ป่วยอาจมีอาการทางทางเดินหายใจเช่นเจ็บคอ มีน้ำมูก ไอร่วมด้วยตั้งแต่แรก แต่อาการดังกล่าวข้างต้นจะเด่นกว่ามาก อาการทางทางเดินหายใจจะชัดเจนขึ้นหลังวันที่ 3 ของไข้ Skin lesion ไม่มี Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-06-14 , Time : 07:23:45 , From IP : 172.29.3.68 |
May I post about leptospirosis. leptospirosis is cause from Leptospira interrogans course of the disease may be ment in 2 phase 1.leptospiremic phase(fist 7 days) >>fever headache myalgia subconj suffusion, stiffness of neck, 2 Immune phase(in next week)>> biphasic fever,headache,rash,liver/kidney abnormal(liver enz) and catogorize in mainly 2 group of presention symptom 1.anicteric leptospirosis >> often self limited 2 icteric leptospirosis(weil disease) >> may be got renal failure,myocarditis >> this group always from Leptopirosis serogroup icterohaemorrhagiae the found in rat !! *** sign and symptom that lead us leptospirosis*** >>> I ll seperate in each organ system <<< @ Muscular - leptospirosis have myalgia esp calf muscle. 50 % in anicteric 75 % in icteric and 50% CPK may be rising in 2 wk after the disease @ GI -abdominal tenderness> 12-27% in anicteric and 35% in icteric -jaudice found in day 4-7 of the disease may be persist for day to many wk - Can be found hepatomegaly but always in pt with icterus - bilirubin rising in early second wk not more than 20 // transaminase can rising not more than 5 times of normal level @ KUB - UA is give a benefit cos lepto invole KUB 50-80% in the early of the disease (that different from other AUF) - UA found proteinuria,red cell,WBC - BUN may rising disproprotion with Cr - renal failure can be both found oligric (1/3)/ non oligulic (2/3) @ respiration - productive cough,hemoptysis >> mostly in icteric - CXR show abnomality 82% in hemop and 39 % without chest symptom - 10 % hemop 50 % CXR abnormal(50% reticular infil.25% air-space,50% cardiomegaly 25% cardiomegly+pulmonary congestion ) @ Neuro - mostly have Headache 30% with stiffness of neck - CSF may be found > organism in 1-2 days of the disease with normal WBC > in second wk immune improved >> organism not found but WBC rising not more than 500 cell/มคล /prot rising not more than 300 mg/dl/normal glucose @ Cardiovascular - 2/3 found only EKG abnormal without clinical - AF is common . some with conduction system (first degree AV block) - EKG is reversible @ Hematology - platlet < 100000 is common in severe esp renal failure(72%asso) - low platele found in day 3 and turn to normal in day 7(always high WBC) Posted by : thanapon , E-mail : (naponyorwor@hotmail.com) , Date : 2008-06-14 , Time : 22:21:10 , From IP : 118.173.157.192.adsl |
ขอบคุณคุณหมอ Thanapon ค่ะ เราใจตรงกัน เมื่อคืนนี้ดิฉันเขียนเรื่อง lepto เหมือนกัน อ่านเสริมกันนะคะ Leptospirosis อายุ ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน อาชีพ ที่ต้องลุยน้ำขัง เช่นชาวนา ขุดลอกคูคลอง คนที่ต้องย่ำน้ำเพราะน้ำท่วมหรือมีน้ำขัง มีเชื้อจากฉี่หนูลงไปอยู่ในน้ำขัง คนไปเดินลุยน้ำ ทำให้เชื้อเข้าไปทางแผลถลอก ที่อยู่ เป็นได้ทั้งคนในเมืองและในชนบท คนในเมืองมักเป็นในฤดูฝนมีน้ำท่วมหรือน้ำขัง การท่องเที่ยว การล่องแก่ง เช่นที่สตูล มีรายงานการเกิด leptospirosis จากการเล่นกีฬาวิบากที่ต้องสัมผัสกับการลุยน้ำ อาการไข้ ทั่วไปเป็นไข้ไม่นานเกิน 2 สัปดาห์ แบ่ง leptospirosis เป็น anicteric และ icteric leptospirosis ใน anicteric leptospirosis อาจจะเป็น biphasic fever ไข้เป็น 2 phase คือ leptospiremic phase และ immune phase โดยมีช่วงที่ไข้ลงระหว่าง phase ทั้งสองนาน 1-2 วัน ส่วน icteric leptospirosis ไม่พบลักษณะของ biphasic fever Weils syndrome เป็น leptospirosis ที่รุนแรง ประกอบด้วย เหลือง ไตวาย เลือดออกผิดปกติ ซึมลง และมีอัตราตายสูง อาการที่สำคัญอื่นๆ มีตาแดง ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือปวดน่อง อาการเหลืองเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วันที่ 2 ของไข้ แต่ส่วนใหญ่เกิดปลายสัปดาห์แรก มีปวดหัวอย่างรุนแรงได้ ตั้งแต่เริ่มมีไข้ แต่พบ CSF pleocytosis หลังวันที่ 6 ของไข้ ในรายงานหนึ่งพบว่า 80% ของผู้ป่วย anicteric leptospirosis มี aseptic meningitis ตาแดงเกิดจาก conjunctival suffusion หรืออาจเป็น uveitis ได้ Skin lesion ไม่มี Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-06-15 , Time : 15:33:11 , From IP : 172.29.3.68 |
Scrub typhus อายุ เป็นได้ทุกอายุ อาชีพ ทำสวน ทำไร่ เช่นสวนยาง สวนกาแฟ ที่อยู่/การท่องเที่ยว อยู่ในชนบท หรือท่องเที่ยวเข้าป่าเข้าสวน อาการไข้ จากการศึกษาในทหารอเมริกันที่ไปรบที่เวียตนาม ส่วนใหญ่ไข้ลงเองใน 2 สัปดาห์ แต่จากการศึกษาที่ต่างๆ พบว่าผู้ป่วยมีไข้นาน 3 สัปดาห์ได้ พบไข้นานถึง 37 วันจากการศึกษาในทหารเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มียาปฏิชีวนะรักษา คนที่เป็นไข้นานมักมีปอดอักเสบหรือสมองอักเสบจากสครับไทฟัส อาการที่สำคัญอื่นๆ เนื่องจาก pathogenesis เป็น vasculitis เหมือน leptospirosis จึงมีอาการเหมือนกันได้ Skin lesion ให้ถามผู้ป่วยว่ามีแผลที่ใดหรือไม่ ลักษณะของแผลเหมือนแผลบุหรี่จี้ (eschar ซึ่งเกิดจาก chigger ของ mite กัด) แผลไม่เจ็บแต่ผู้ป่วยมักทราบว่ามีแผลอยู่ แผลมักอยู่ในที่ลับเช่นรักแร้ ขอบกางเกงในตรงขาหนีบ ที่เอว ผู้ป่วยมักมี erythematous maculopapular rash ซึ่งไม่คันในวันที่ 4-8 ของไข้ Murine typhus อายุ เป็นได้ทุกอายุ อาชีพ ที่อยู่ใกล้ชิดกับหนู เคยพบผู้ป่วยที่ขายข้าวสาร ที่ร้านมีหนูมาก ให้ถามประวัติหนูตายด้วย เพราะถ้าหนูที่เป็นโรคนี้ตาย พอหนูตัวเย็น หมัดที่อยู่กับหนูจะพล่าน ไปกัดคนและนำเชื้อไปสู้คนได้ ที่อยู่ มักเป็นในเมือง หนูอยู่ใกล้ชิดกับคน อาการไข้ เหมือนสครับไทฟัส อาการที่สำคัญอื่นๆ เหมือนสครับไทฟัส Skin lesion ไม่มี eschar มี maculopapular rash ได้เหมือนกับสครับไทฟัส Bacteremia อายุ มักเป็นผู้สูงอายุ เมื่อผู้สูงอายุมีไข้ จะนึกถึง bacteremia/ bacterial infection มากที่สุด เพราะผู้สูงอายุจะมี anatomical/functional defect ของอวัยวะต่างๆ เช่นต่อมลูกหมากโต ทำให้มีโอกาสมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะสูงขึ้น อาชีพ ไม่ช่วย ที่อยู่ ไม่ช่วย อาการไข้ ผู้ป่วยจะมาหาแพทย์เร็ว มีไข้หนาวสั่นได้ ในผู้ป่วยที่มีไข้และหนาวสั่นก็ต้องนึกถึงมาลาเรียและ bacteremia ไว้เสมอ ในมาลาเรีย อาการไข้หนาวสั่นจะเป็นวันละครั้งหรือ 2 วันครั้ง แต่ใน bacteremia อากรหนาวสั่นเป็นวันละหลายครั้งได้ อาการที่สำคัญอื่นๆ ขึ้นอยู่กัยระบบที่มีการติดเชื้อ Underlying disease ผู้ป่วยที่มี underlying disease เช่น เป็นเบาหวาน มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น melioidosis, bacteremia จาก E. coli หรือ Klebsiella pneumoniae ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบต่างๆทั้งทาง anatomy และ physiology เช่น ต่อมลูกหมากโต หรือ neurogenic bladder มีโอกาสสูงที่จะเป็น UTI ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มักมี non-typhoidal salmonella bacteremia Skin lesion ถามว่ามีตุ่มหนองหรือกดเจ็บที่ใดบ้าง Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-06-15 , Time : 15:43:11 , From IP : 172.29.3.68 |
***Progress Note*** I so glad that the topic ve got a much participient to take part in. Now we go throgh 1.Malaria 2. Influenza 3. Leptospirosis 4. Scrup PS: let joint >> It gonna be more fun...... Really thank you for every comment. Posted by : thanapon , E-mail : (thanapon) , Date : 2008-06-17 , Time : 17:24:23 , From IP : 118.173.150.21.adsl. |
ขอโทษครับ อันที่จริงต้องการพิมพ์ว่า typhus(murine และ srub) ขอบคุณครับ N.thanapon Posted by : thanapon , E-mail : (naponyorwor@hotmail.com) , Date : 2008-06-19 , Time : 12:59:57 , From IP : 172.29.23.52 |
Dengue fever/ Dengue hemorrhagic fever อายุ พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ที่อยู่ เป็นกับคนในเมืองมากกว่าคนในชนบท อาการ ผู้ติดเชื้อ dengue virus ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ที่มีอาการ สามารถแบ่งอาการได้ 3 รูปแบบคือ 1. Undifferentiated febrile illness ในเด็ก ไม่รุนแรง บางครั้งมีผื่นร่วมด้วย 2. Dengue fever (DF) ในผู้ใหญ่ มีลักษณะ 3 อย่าง คือ ไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีผื่นแบบ maculopapular อาการปวดตามกล้ามเนื้อและตามข้ออาจรุนแรงจนได้ชื่อว่าเป็น break bone fever 3. Dengue hemorrhagic fever (DHF) ส่วนใหญ่ /เป็นในเด็ก และจะมีอาการรุนแรงถึงตายได้ ลักษณะที่แตกต่างกันระหว่าง DHF และ DF คือ การเกิด shock และ hemorrhagic diathesis ใน DHF DHF อายุ ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 2-8 ปี Clinical manifestation รายที่ typical จะมีอาการที่สำคัญ คือ 1. ไข้สูงลอย 2. อาการเลือดออก (hemorrhagic diathesis) 3. ตับโต 4. Circulatory disturbance/shock การดำเนินโรคของ DHF แบ่งเป็น 3 ระยะ 1. ระยะไข้สูง (febrile stage) ผู้ป่วยทุกรายมีไข้แบบฉับพลัน ไข้สูงถึง 39-40 องศาเซลเวียส มีไข้สูงลอยอยู่ 2-7 วัน มี 17% ที่มีไข้นานกว่า 7 วัน (ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยเป็นไข้นานกว่า 7 วันก็นึกถึง DF/DHF น้อยลง) กินยาลดไข้ ไข้ก็ไม่ค่อยลด มีหน้าแดง เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้องที่ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 2. ระยะวิกฤต (shock หรือ hemorrhagic stage) เป็นระยะที่มีการรั่วของพลาสมา ไข้มักลงอย่างรวดเร็ว ถ้าพลาสมารั่วมากก็อาจเกิดภาวะช็อคได้ 3. ระยะฟื้น (convalescent stage) เป็นระยะที่มีการดูดกลับของพลาสมาเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยมีอาการทั่วไปดีขึ้น เริ่มอยากกินอาหาร อาจมี petechial rash ที่เห็นเป็นวงขาวกระจายอยู่ในพื้นสีแดงของผื่น เรียกว่า convalescent rash ทุกท่านยังสามารถเสริมความคิดเห็นและประสบการณ์ได้นะคะ คุณหมอ Thanapon คะ เราเปลี่ยนเป็นเรื่องการตรวจร่างกายได้ไหมคะ การตรวจร่างกายผู้ป่วยใน 8 โรคที่เป็นสาเหตุของ acute undifferentiated fever 1. ต้องตรวจอะไรบ้าง 2. มี sign อะไรบ้างที่บ่งบอกว่าเป็นโรคใด Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-06-19 , Time : 16:42:29 , From IP : 172.29.3.68 |
ดีครับ ซึ่งน่าจะนำไปสู่การนำไปใช้ได้จริงมากขึ้นครับ PS.เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นกันเยอะๆนะครับ ขอบคุณครับ thanapon Posted by : thanapon , E-mail : (napon) , Date : 2008-06-20 , Time : 08:44:06 , From IP : 172.29.23.52 |
Dengue : may need palpate liver>> suggestive clue touniquet test look for petechiae rash(behind pinna,leg) PS... Be continue thanapon Posted by : thanapon , E-mail : (thanapon) , Date : 2008-06-23 , Time : 16:28:10 , From IP : 172.29.23.52 |
การตรวจร่างกายที่ต้องทำในผู้ป่วยทุกรายที่มาด้วย AFI คือ V/S ค่ะ เพื่อดูว่ามี SIRS หรือเปล่า ส่วนการตรวจร่างกายอื่นๆ ก็ตรวจตามโรคที่สงสัยและพยายามมองหาค่ะ การตรวจร่างกาย คิดว่าจากประวัติน่าจะพอช่วยแยกโรคได้บ้างค่ะ และการตรวจร่างกายก็จะพยายามมองหาความผิดปกติตามโรคที่คิดถึง - Influenza อาจจะตรวจร่างกายไม่พบอะไรเลย - DF อาจจะมี หน้าแดง มี petichiae (maculopapular) หรือ คลำตับโตหรือเจ็บที่ตับ - Malaria อาจจะตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติ ยกเว้นว่าอาการรุนแรง อาจจะมีตาเหลือง หรือ confuse (ถ้าติดเชื้อเข้าสูสมอง) - Scrub typhus อาจจะมี eschar แต่บางรายก็ไม่มี ซึ่งยัง exclude ไม่ได้ - Leptospirosis อาจจะพบ conjunctivitis หรือไม่พบก็ - Bacteremia อาจจะตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติอะไร นอกจากมีไข้ หรือในรายที่อาการรุนแรงก้อาจจะมี signs ของ shock หรือ alteration of consciounsness ค่ะ Posted by : Nongnham , E-mail : (Nongnham025@gmail.com) , Date : 2008-06-27 , Time : 07:03:43 , From IP : 222.123.142.191 |
มาตามอ่านครับ ราววอร์ดมากว่าสัปดาห์แล้ว กำลังปวดหัวกับเรื่องไข้อยู่เลยล่ะครับ ตอนนี้ที่วอร์ดมีตั้งแต่ ไข้ ตัวเหลือง, ไข้ + HIV, ไข้ + severe anemia + HIV risk (แต่ไม่ยอมให้เจาะ) , ไข้เลือดออก, ไข้มาลาเรีย(กำลังระบาดอย่างสนุกสนานเลย) ว่าจะถามอาจารย์เรื่อง lab ของมาลาเรีย แต่รออาจารย์เขียนเรื่องตรวจร่างกายให้ครบก่อนดีกว่า ส่วนเคสที่วอร์ด เดี๋ยวจะไปเก็บข้อมูลแล้วนำมาปรึกษาอีกทีนะครับ Posted by : arlim , E-mail : (anan_st@hotmail.com) , Date : 2008-07-10 , Time : 00:37:22 , From IP : 61.19.67.150 |
เรียนคุณหมอ arlim ขอบคุณคุณหมอมากค่ะที่เขียนมาเล่าสู่กันฟัง คุณหมอส่งปัญหาและเล่า case มาได้เลยค่ะ ถ้ารอให้ดิฉันเขียนจบก็อาจจะนาน เพราะความที่ไม่มีอะไรเร่งรัดก็เลยเรื่อยเฉื่อย ต้องมี mood นิดหน่อยถึงจะเขียนต่อได้ จดหมายของคุณหมอเป็นแรงกระตุ้นที่ดีค่ะ จะรีบเขียนต่อค่ะ คุณหมออาจจะถามเรื่องผู้ป่วย/ปัญหาอื่นๆ ในกระทู้นี้หรือตั้งเป็นกระทู้ใหม่ก็ได้นะคะ ดิฉันจะรอคำถาม ติดใจอะไรก็ถามมาได้เลย ไม่ต้องเป็นทางการค่ะ Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-07-10 , Time : 12:08:03 , From IP : 172.29.3.68 |
ขอเพิ่มเติมเรื่องการตรวจร่างกายค่ะ Liver ตับโตพบได้ใน dengue, leptospirosis, scrub typhus, murine typhus, malaria, typhoid fever, hepatobiliary infection ในรายที่ตับโต ต้องตรวจหา tenderness (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ point of maximum tenderness โดยใช้นิ้วแยงเข้าไประหว่างช่องระหว่างซี่โครง ซึ่งเรียกว่า Yang sign, Yang=แยง นั่นเอง) ซึ่งจะบอกว่าน่าจะเป็น liver abscess ถ้าฝีอยู่ลึก จะตรวจแยงซายน์ไม่พบ ก็ต้องตรวจโดยทุบที่บริเวณตับอย่างเบาๆ โดยวางมือซ้ายแนบบริเวณนั้นแล้วใช้มือขวาทุบเบาๆไปบนมือซ้าย ต้องทำแบบนี้ที่บริเวณม้ามด้วยว่าเจ็บแตกต่างกันไหม ใน DHF จะพบว่ามีตับโตและกดเจ็บเล็กน้อยได้ Spleen พบม้ามโตได้ในมาลาเรีย, leptospirosis, scrub typhus, murine typhus, typhoid fever สำหรับ bacterial infection ถ้ามีม้ามโตก็ต้องนึกถึง melioidosis, splenic abscess, infective endocarditis (อาจมีฝีที่ม้ามหรือไม่มีก็ได้) CVA ในผู้ป่วยที่มีไข้ทุกราย ควรทุบเบาๆที่ CVA ทั้ง 2 ข้างเพื่อดูว่าเขามีการอักเสบที่ไตหรือไม่ ไม่ว่าเขาจะมีประวัติของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะหรือไม่ก็ตาม Neurological system อย่าลืมตรวจว่ามีคอแข็งหรือไม่ เพื่อหาว่าผู้ป่วยมี meningitis หรือไม่ ใน leptospirosis, scrub typhus และ murine typhus ผู้ป่วยจะมี meningitis ได้ ขอเพิ่มเติมเรื่องตา การพบ conjuctival petechiae จะบอกถึง embolic phenomenon ใน infective endocarditis และ meningococcemia ทั้งหมดนี้ยังไม่สมบูรณ์นะคะ เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ทุกท่านสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ค่ะ ต่อไปจะเป็นเรื่อง investigation ค่ะ จะเริ่มต้นด้วย CBC Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-07-11 , Time : 08:19:34 , From IP : 172.29.3.68 |
CBC จะเน้น Dengue/ dengue hemorrhagic fever, leptospirosis และ scrub/murine typhus Dengue/ dengue hemorrhagic fever ในวันแรก ๆของระยะไข้สูง จำนวนเม็ดเลือดขาวอาจปกติหรือสูงขึ้นเล็กน้อย และอาจพบ PMN สูงขึ้นหรือมี band form ออกมา ในวันท้ายๆ ของระยะไข้สูง จำนวนเม็ดเลือดขาวมักต่ำลงกว่า 4000 ตัว/ลบ.มม. มี lymphocyte และ atypical lymphocyte สูงขึ้น จำนวนเกล็ดเลือดลดลง (ส่วนใหญ่มักต่ำกว่า 100 000 ตัว/ลบ.มม.) ตามมาด้วย hematocrit สูงขึ้นในกรณีที่มีการรั่วของพลาสม่า Leptospirosis จำนวนเม็ดเลือดขาวอาจอยู่ในเกณฑ์ปกติ ต่ำ (มักไม่ต่ำกว่า 4000 ตัว/ลบ.มม.) หรือสูงก็ได้ กลุ่มที่มีเม็ดเลือดขาวสูงมักมี PMN สูงขึ้นด้วย ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (<100 000 ตัว/ลบ.มม.) พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวาย ในผู้ป่วยที่มีเกล็ดเลือดต่ำ พบภาวะไตวายร่วมด้วย 72% ส่วนที่รายที่เกล็ดเลือดปกติ พบภาวะไตวายเพียง 21% ผู้ที่มี เกล็ดเลือดต่ำมักมีเม็ดเลือดขาวสูง จำนวนเกล็ดเลือดมักจะลดลงต่ำใน 3 วันแรก และค่อยๆ กลับเพิ่มชึ้นเป็นปกติใน 7 วัน Scrub typhus CBC จำนวนเม็ดเลือดขาวมักปกติ ในระยะแรกของไข้ พบว่ามีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำได้ การศึกษาที่จ.นครราชสีมาพบว่าผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวโดยเฉลี่ย 10,450 ตัว/ลบ.มม. โดยเป็น lymphocyte ประมาณร้อยละ 40 และมีเกล็ดเลือดปกติ Murine typhus คล้ายกับ scrub typhus มาลาเรีย ส่วนใหญ่เม็ดเลือดขาวปกติ มีเกล็ดเลือดต่ำได้ทั้งใน P. falciparum และ P. vivax Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-07-21 , Time : 17:12:16 , From IP : 172.29.3.68 |
ขอบคุณคุณหมอ Arlim มากค่ะสำหรับข้อคิดเห็น การวินิจฉัย DHF ใช้ clinical criteria ที่สำคัญคือ เรื่อง leakage และต้องใช้ serology (4-fold rising in titer) สำหรับ definite diagnosis ของ dengue infection ค่ะ ส่วนการรักษา คุณหมอทำถูกแล้วค่ะ สิ่งที่เรากลัวมากกว่า คือการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็น DHF จากผล CBC ที่มี platelet ต่ำ โดยไม่ได้ดูว่าผู้ป่วยมีมาลาเรีย Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-08-01 , Time : 08:21:31 , From IP : 172.29.3.68 |
ที่รพ.ผมมีแล้วครับ ไข้ 10 วันยัง Dx DHF อยู่เลย.... เพราะเจาะหาเชื้อไม่เจอ ^_^ Posted by : ArLim , Date : 2008-08-02 , Time : 19:27:28 , From IP : 61.19.67.83 |
ขอบคุณคุณหมอ Arlim มากค่ะ ที่กรุณาติดตาม e-consult ตอบคำถาม และตั้งคำถาม รวมถึงค้นคว้าหาข้อมูลมาทำให้ผู้อ่านได้ความรู้เพิ่มเติม ก็จะขอตอบตามที่คุณหมอถามมานะคะ ขอตอบข้อ 3 ก่อนนะคะ ในเรื่อง Weil-Felix test คำถาม แล้วพวก weil-felix, widal ยังมีประโยชน์อีกไหมครับ ถ้าไม่มี ผมจะได้ไปคุยกับ lab อีกที Weil-Felix test ในผู้ป่วย สครับ ทัยฟัสจะให้ผลบวกต่อ OX-K antigen และให้ผลลบต่อ OX-2 และ OX-19 โดยใช้จุดตัดที่ระดับไตเตอร์ 1:320 เมื่อเจาะเลือดครั้งเดียว หรือมีระดับ antibody เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 2 เท่าขึ้นไป (4-fold rising) เมื่อเจาะเลือด 2 ครั้ง การศึกษาทีมาเลเซียพบว่า Weil-Felix test มีความไว 44% และมีความจำเพาะ 97% ส่วนที่มอ.พบว่ามีความจำเพาะ 86% ส่วนการศึกษาที่เชียงราย พบว่า การตรวจครั้งเดียวมีความไวเพียง 15% และถ้าเจาะเลือดตรวจ 2 ครั้งเพื่อดูการเพิ่มของ antibody จะเพิ่มความไวเป็น 45% และพบว่ามีความจำเพาะ 51% สาเหตุที่ Weil-Felix test มีความจำเพาะต่ำเพราะมีผลบวกลวงได้มาก เนื่องจากสามารถทำปฏิกิริยาข้ามกลุ่มกับโรคติดเชื้ออื่นๆได้ เช่น Proteus infection, มาลาเรีย, เล็ปโตสไปโรสิส, brucellosis และ relapsing fever ส่วนความไวที่ต่ำอาจเกิดจาก antibody ขึ้นช้าในช่วงแรกของโรค และอาจไม่พบในผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะมาก่อน เนื่องจาก Weil-Felix test มีความไวและความจำเพาะต่ำ ปัจจุบัน WHO จึงไม่แนะนำให้ใช้การตรวจนี้ในการวินิจฉัยโรคสครับ ทัยฟัสอีกต่อไป วิธีมาตรฐาน (gold standard) ของการวินิจฉัยสครับ ทัยฟัสคือ indirect fluorescent assay ตรวจหา antibody ต่อ Orientia tsutsugamushi โดยใช้จุดตัดที่ไตเตอร์ >1:400 ถ้าเจาะเลือดครั้งเดียว มีความไว 48% และความจำเพาะ 96% ถ้าเจาะเลือดตรวจ 2 ครั้งโดยต้องมีคาไตเตอร์เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 4 เท่าและต้อง > 1:200 ขึ้นไป พบว่ามีความไว 54% และความจำเพาะ 98% ที่มอ. ใช้ IFA ค่ะ ทำทั้งหมดคือ scrub และ murine typhus และ leptospirosis เลยเพราะอาศัยลักษณะทางคลินิคจะแยกจากกันไม่ได้ ยกเว้นจะเจอ eschar ก็ต้องเป็น scrub typhus แน่ Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-08-11 , Time : 08:53:47 , From IP : 172.29.3.68 |
ขอตอบคำถามต่อนะคะ 1. ถาม การตรวจหา malaria โดยใช้ strip ซึ่งมีความเห็นสองฝั่ง ทั้งทางที่ บอกว่า sensitivity, specific สูง และทางพวกผมที่บอกว่า ส่งตรวจเท่าไหร่ๆก็ไม่เคยเจอ จนต้องส่งไปที่ศูนย์เพื่อทำ thick smear ตอบ เวลาในการเจาะเลือดหา malaria มีความสำคัญไหมครับ เช่นต้องเจาะหลังมีไข้ 15 นาที แล้วพวก weil-felix, widal ยังมีประโยชน์อีกไหมครับ ถ้าไม่มี ผมจะได้ไปคุยกับ lab อีกที Lepto นี่ ถ้าไม่มี titer มี lab อื่นช่วยได้ไหมฮะ หรือว่า UA ? The reliability of diagnostic techniques in the diagnosis and management of malaria in the absence of a gold standard L B Ochola , P Vounatsou, T Smith, M L H Mabaso, C R J C Newton The accuracy of techniques for the diagnosis of malaria are usually compared with optical microscopy, which is considered to be a gold standard. However, microscopy is prone to error and therefore makes it diffi cult to assess the reliability of other diagnostic techniques. We did a systematic review to assess the specifi city and sensitivity of diagnostic techniques in diff erent settings, using a statistical method that avoided defi ning a gold standard. Performance varied depending on species of the malaria parasite, level of parasitaemia, and immunity. Overall, histidine-rich protein 2 (HRP2)-based dipsticks showed a high sensitivity (92⋅7%) and specifi city (99⋅2%) for Plasmodium falciparum in endemic areas. The acridine orange test was more sensitive (97⋅1%) in detecting P falciparum in epidemiological studies, with a specifi city of 97⋅9%. In the absence of a gold standard, HRP2 dipsticks and acridine orange could provide an alternative for detecting falciparum infections in endemic areas and epidemiological studies, respectively. Microscopy still remains more reliable in detecting non-falciparum infections. Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-08-12 , Time : 10:01:36 , From IP : 172.29.3.68 |
paper นี้ลงใน Lancet Infect Dis 2006; 6: 58288. ต้องขอโทษด้วยค่ะ ไปกดอะไรก้ไม่ทราบ กลายเป็นส่งเข้ากระดานไปเลย ขอตอบคำถามต่อนะคะ 1. ถาม การตรวจหา malaria โดยใช้ strip ซึ่งมีความเห็นสองฝั่ง ทั้งทางที่ บอกว่า sensitivity, specific สูง และทางพวกผมที่บอกว่า ส่งตรวจเท่าไหร่ๆก็ไม่เคยเจอ จนต้องส่งไปที่ศูนย์เพื่อทำ thick smear ตอบ จาก paper ต่างๆ ก็บอกว่า rapid test ดี แต่ดีสำหรับ P. falciparum นะคะ เมื่อหลายเดือนก่อน คุณหมอสุวัฒน์ ผอ.รพ.เทพาก็เล่าให้ฟังว่า malaria strip ให้ผล false negative สูง ดิฉันเองไม่มีประสบการณ์เรื่องใช้ malarial strip ยังถนัดที่ให้การวินิจฉัยมาลาเรียจากการดูสเมียร์เลือดกับกล้องค่ะ 2. ถาม เวลาในการเจาะเลือดหา malaria มีความสำคัญไหมครับ เช่นต้องเจาะหลังมีไข้ 15 นาที ตอบ ไม่จำเป็นค่ะ การเจาะเลือดสำหรับทำ blood culture ก็ไม่ต้องรอเจาะหลังไข้ขึ้นเหมือนกันค่ะ 3. ถาม widal ยังมีประโยชน์อีกไหมครับ ตอบ Widal test มี sensitivity และ specificity สำหรับ typhoid fever ต่ำเช่นกันค่ะ (ประมาณ 50% ทั้งคู่) non-typhoidal salmonellosis ก็ให้ผลบวกของ Widal test ได้ ที่มอ.ไม่ทำ Widal test มานานแล้วค่ะ gold standard ของการวินิจฉัย typhoid fever คือ blood culture ในรายงานหนึ่งพบว่า ใน ผป.ที่มี S. typhi bacteremia จำนวนหนึ่ง มี 4 fold rising in titer ของ Widal test เพียง 50% 4. ถาม Lepto นี่ ถ้าไม่มี titer มี lab อื่นช่วยได้ไหมฮะ หรือว่า UA ? ตอบ definite diagnosis ของ leptospirosis ต้องใช้ serologic test หรือ culture ค่ะ จากลักษณะทางคลินิกบอกไม่ได้อย่างแน่นอนค่ะ มีรายหนึ่งมีเหลือง มีไตวาย อะไรๆก็เหมือน lepto แต่ serology ออกมาเป็น scrub typhus Urine ที่พบ proteinuria, wbc, rbc พบได้ทั้งใน lepto และ scrub/murine typhus ทั้งนี้เพราะ pathogenesis เป็น vasculitis เหมือนกัน Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-08-12 , Time : 10:33:45 , From IP : 172.29.3.68 |
กระทู้นี้มีประโยชน์มากๆครับ Posted by : PoonleT , Date : 2010-12-11 , Time : 02:24:07 , From IP : 118.174.219.51.stati |