ผู้ป่วยตับแข็ง 44 ปี ปวดและบวมที่ขา 2 ข้างนาน 2 วันชายอายุ 44 ปีมาด้วยอาการซึมและขาทั้ง 2 ข้างบวมและปวดมานาน 2 วัน เขามีไข้สูง กระหายน้ำ หายใจเหนื่อย และปวดที่ขา 2 ข้างมาก ผู้ป่วยเป็น Child class C cirrhosis ที่เกิดจาก chronic hepatitis B และ alcoholism เขากินหอยนางรมดิบๆ 3 วันก่อนมารพ. PE: BP 67/35 mmHg, heart rate 170 beats/min. He has icteric sclera, dry mucous membranes, and distended abdomen. Both legs were swollen and had bizarre-shaped hemorrhagic blisters on violaceous geographic plaques, which progressed upwards at an alarming rate (รูป A). Serum laboratory studies: plasma glucose 37 mg/dL, metabolic acidosis (pH 7.12, plasma bicarbonate 7.0 mmol/L), thrombocytopenia (38000/cumm.), and coagulopathy (prothrombin time 181 s, international normalised ratio 181) ถาม 1. ปัญหาของผู้ป่วยคืออะไรบ้าง 2. การวินิจฉัยโรคที่น่าจะเป็นมากที่สุด และเชื้อก่อโรคคืออะไร 3. จะ manage ผู้ป่วยอย่างไร Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-10-09 , Time : 15:38:20 , From IP : 172.29.3.68 |
ลืมอีก problem ครับ : chronic hepatitis B and alcoholism related cirrhosis Posted by : harder , Date : 2008-10-12 , Time : 21:33:35 , From IP : 172.29.22.43 |
คุณหมอ harder ตอบได้ถูกต้องแล้วค่ะ ผู้ป่วยมี necrotizing fasciitis จาก Vibrio vulnificus ขอขอบคุณคุณหมอที่ได้ส่งคำตอบแสดงความคิดเห็นมาซึ่งคุณหมอทำได้ดีมากค่ะ ส่วนเรื่องสอบ OSCE เรื่องผ่านไปแล้วก็ทำใจให้สบายนะคะ เก็บเอาไว้แต่สิ่งที่ดีๆ คือความรู้ที่เราได้เพิ่มพูนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสิ่งที่เราได้เรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งจะจดจำได้นาน ดิฉันคิดว่าการสอบไม่ใช่สภาพปกติ มีความตื่นเต้น การจำกัดเวลา รวมทั้งอาจารย์ก็อาจดูคุกคาม เหล่านี้ก็ทำให้คุณหมอทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ที่จริงในส่วนซักประวัติและการ approach ผู้ป่วย คุณหมอก็ได้คะแนนดีค่ะ ส่วนประเด็นการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยมาประมวลว่าน่าจะเป็นโรคอะไร ดิฉันจะเขียนใน E-consult ในเรื่อง acute undifferentiated fever เพราะคิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วย ติดตามอ่านนะคะ Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-10-13 , Time : 08:20:31 , From IP : 172.29.3.68 |
ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น necrotizing fasciitis ที่น่าจะเกิดจาก Vibrio vulnificus (หรืออาจเป็นจาก V. parahaemolyticus ก็ได้) และได้ปรึกษาศัลยกรรม การรักษาได้เริ่มด้วย with intravenous fluids, dextrose, vasopressor, minocycline (100 mg every 12 h) และ imipenem-cilastatin (500 mg every 6 h) เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก ผู้ป่วยรู้ตัวหลังการรักษาเบื้องต้น เขาได้รับการผ่าตัด emergency extensive fasciotomy and fasciectomy ของขาทั้งสองข้าง ไม่มี resistance ต่อ blunt dissection จาก adherent fascia ที่ปกติ มีกลิ่นเหม็นจาก necrotic fascia และ fat tissue ผู้ป่วยเสียชีวิตจาก refractory shock 36 ชั่วโมงหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การเพาะเชื้อจากเลือดและหนองขึ้น Vibrio vulnificus รูป B เป็นเนื้อเยื่อที่ย้อมสีแกรม พบ curvilinear Gram-negative bacilli (ลูกศร) จำนวนมากอยู่บนพื้นหลังของ loosely arranged necrotic fibers และเม็ดเลือดแดง โดยมี neutrophilic reaction น้อย Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-10-13 , Time : 08:24:25 , From IP : 172.29.3.68 |
ดีใจที่ได้รับคำตอบจากคุณหมอ arlim อีกค่ะ เรื่องและรูปจาก Lee CH. Lancet Infect Dis 2008;8:399. เห็นด้วยค่ะที่คุณหมอจะเจาะเอาน้ำใน bleb มาหา shooting star และส่ง culture เราไม่ได้ทำ biopsy นะคะ แต่เอามให้ดูเพราะรูปสวยดี หลังทำ blood culture ก็ให้ antibiotic ได้เลย คุณหมอเลือก ceftriaxone ก็ถูกต้องดีแล้วค่ะ เพราะทั้ง V. vulnificus และ Aeromonas hydrophila ก็ไวกับ ceftriaxone ทั้งคู่ อาจให้ร่วมกับ doxycycline ซึ่งมีฤทธิ์ ยับยั้งการสร้าง toxin ของเชื้อ เราควรใช้ยา IV เพราะผู้ป่วยจะ sepsis และการดำเนินโรคจะรวดเร็วมากค่ะ Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-10-17 , Time : 15:36:25 , From IP : 172.29.3.68 |