Facial palsy in a hemodialysis patientหญิงอายุ 67 ปี มาที่ ER เนื่องจากมี left-sided facial weakness ซึ่งเกิดขึ้นเร็ว ผู้ป่วยมี end-stage renal failure secondary to diabetes และได้ทำ hemodialysis สัปดาห์ละ 3 ครั้งมานาน 15 เดือน ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Bell palsy และแพทยให้กลับบ้านโดยได้รับยา acyclovir 200 mg กินวันละ 5 ครั้ง ในสัปดาห์ต่อมา ผู้ป่วยบอกญาติว่าเดินโคลงเคลง ญาติสังเกตว่าผู้ป่วยอารมณ์แปรปรวนและดูซึมๆเป็นๆหายๆ แพทย์จึงรับผู้ป่วยในรพ.เพื่อหาสาเหตุ PE: conscious, Glasgow coma score (GCS) of 15/15. CN: A dense left lower motor neuron 7th cranial nerve palsy Cerebellar signs: past-pointing and ataxic broad-based gait แพทย์ได้หยุด acyclovir therapy อีก 24 ชั่วโมงต่อมา ผู้ป่วยซึมมากขึ้น GCS score ลดเป็น 6/15 ถาม 1. รูป A และ B เป็น MRI brain ของผู้ป่วย พบความผิดปกติอะไรบ้าง 2. การวินิจฉัยโรคคืออะไร Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-09-08 , Time : 12:59:31 , From IP : 172.29.3.68 |
ขอบคุณคุณหมอ sagittareusinternist และคุณหมอ harder มากค่ะ ที่ตอบว่า เป็น subdural hematoma ถูกแล้วนะคะ ขอเฉลยค่ะ MRI brain: an extra-axial hematoma in the subdural space present in both sides of the posterior fossa, inferior and anterior to the cerebellum. The hematoma caused indentation of the cerebellar hemisphere on the left side, with some adjacent edema in the cerebellar substance. On the left, the haematoma tracked anteriorly into the internal auditory canal (figure B). The brainstem was normal. There were a few small T2 high-signal lesions in the cerebral matter likely to represent small-vessel ischemia. ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย heparin-free hemodialysis เป็นระยะสั้นคือวันละ 2 ชั่วโมง ทุกวัน เพื่อ maintain cerebral perfusion และสมองบวม จึงให้ dialysate sodium สูงที่ 148 mmol/L และรักษาอุณหภูมิของ dialysate ให้เย็นที่ 35°C ร่วมกับให้ mannitol bolus (100 mL 20% solution) หลังชั่วโมงแรก ผู้ป่วยรู้ตัวขึ้นอย่างมากหลัง dialysis session แรก และในวันที่ 4 ของการรักษาในรพ. GCS score เป็น 15/15 หลังจากนั้นผุ้ป่วยสบายดีโดยได้รับ hemodialysis มาตลอด แต่เสียชีวิต 1 ปีต่อมาจากภาวะแทรกซ้อน ของปอดอักเสบ ขอถามต่อค่ะ 1. ในผู้ป่วยรายนี้ เกิด subdural hematoma ได้อย่างไร 2. สาเหตุที่พบบ่อยของ lower motor neuron facial palsy คืออะไร 3. การรักษาด้วย acyclovir ในผู้ป่วย ESRD มีข้อควรระวังและข้อเสียอย่างไรบ้าง Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-09-15 , Time : 16:04:17 , From IP : 172.29.3.68 |
ขอบคุณคุณหมอ harder สำหรับคำตอบค่ะ และเภสัชกร wichy ซึ่งกรุณาให้ความรู้ด้านเภสัชวิทยาในกระทู้ต่างๆ ดิฉันขอตอบคำถามบ้างนะคะ 1. Subdural hematoma เป็นภาวะแทรกซ้อนของ hemodialysis ที่ทราบกันมานานแล้วโดยพบได้ในผู้ป่วย hemodialysis ร้อยละ 3% ทั้งนี้เนื่องจาก anticoagulation (โดยทั่วไปใช้ heparin ซึ่งจำเป็นสำหรับ extracorporeal circuit) และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของผู้ป่วยไตวาย ได้แก่ uremic platelet dysfunction, antiplatelet therapy และ hypertension ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีประวัติ trauma และอาการแสดงของโรคไม่ตรงรูปแบบ ดังเช่นในผู้ป่วยรายนี้ ในผู้ป่วยรายนี้ เลือดที่เซาะเข้าสู่ internal auditory canal ข้างซ้ายน่าจะเป็นสาเหตุของ lower motor neuron facial weakness ได้ 2. สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของ lower motor neuron facial weakness คือ idiopathic Bell palsy (ซึ่งมักได้รับการรักษาด้วย steroid) และ Ramsay-Hunt syndrome (มักได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส) 3. การวินิจฉัยโรคผิดในผู้ป่วยรายนี้ ทำให้เขาได้รับการรักษาอย่างไม่เหมาะสมด้วย acyclovir -acyclovir มี plasma half-life นาน 2.5 ชั่วโมงในผู้ใหญ่ที่ไตปกติ แต่เพิ่มเป็น 20 ชั่วโมงในผู้ป่วยที่ไม่มีไต -มีรายงานการเกิดพิษต่อระบบประสาทจาก acyclovir ในผู้ป่วยที่ทำ dialysis แม้จะใช้ยาขนาดที่ลดแล้วตามข้อแนะนำของ British National Formulary -acyclovir มี small volume of distribution, low protein binding และ high water solubility ดังนั้น acyclovir จึงสามารถถูกกำจัดโดย hemodialysis ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในผู้ป่วยรายนี้ GCS score ดีขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 6 เป็น 15 ภายใน 48 ชั่วโมงหลังทำ hemodialysis ไป 2 ครั้งสนับสนุนว่า acyclovir ทำให้อาการทางสมองเลวลง ต้องนึกถึง subdural hematoma ไว้ด้วยเสมอในผู้ป่วย hemodialysis ที่มี focal neurological signs หรือ global neurological deterioration และต้องส่งตรวจ CT หรือ MRI ผู้ป่วยรายนี้ยังสอนเราอีกด้วยว่าแพทย์ต้องสั่งยาอย่างระมัดระวังในผู้ป่วยไตวาย เรื่องและรูปจาก Papadakis M. Lancet 2007;369:714 Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-09-22 , Time : 15:52:35 , From IP : 172.29.3.68 |