ความคิดเห็นทั้งหมด : 6

A 46 YOW had flu-like illness with rash




   หญิงอายุ 46 ปี มาที่ ER เป็นครั้งที่ 3 ในเวลา 6 สัปดาห์ ผป.มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ (flu-like illness) คือ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อและข้อหลายที่ และเพลียมานาน 6–8 สัปดาห์ หลังจากเริ่มมีอาการเหล่านี้ได้ไม่นาน ผู้ป่วยมีไข้และ maculopapular rash ทั่วตัว ไข้และผื่นเกิดขึ้นเป็นๆหายๆ โดยเป็นทุก 5-7 วันและเป็นแล้วหายใน 24–48 ชั่วโมงโดยไม่มีอาการคัน ได้ทำ blood cultures ไปหลายครั้งแต่ไม่เคยขึ้นเชื้อใดๆ ก่อนหน้านี้ผู้ป่วยแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ ทั้ง 2 ครั้งที่ผู้ป่วยมาตรวจ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นการติดเชื้อไวรัส

PE: T 39.5°C, heart rate was 99 bpm. A maculopapular rash covered her torso, arms, and legs. The spots had a diameter of around 10 mm; some had purpuric centres (รูป). General, neurological, and rheumatological examination revealed nothing else of note.

Serological testing for hepatitis B and C, Epstein-Barr virus, HIV, and CMV gave negative results, as did urinalysis and a throat swab.
CBC: HB 11.2 g/dL, neutrophil 18000/cumm, ESR 38 mm/h and C-reactive protein 192 mg/L.
Lumbar puncture: cerebrospinal fluid showed nothing abnormal.
CT of the head and thorax: normal.
CT of the abdomen showed a fatty liver, but nothing else of note.

ท่านคิดว่าผู้ป่วยน่าจะเป็นโรคใดมากที่สุด


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-09-02 , Time : 10:01:51 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   Dx Acute retroviral syndrome ครับ

DDx adult onset still s disease


Posted by : sagittareusinternist , Date : 2008-09-05 , Time : 01:25:25 , From IP : 172.29.5.213

ความคิดเห็นที่ : 2


   คุณหมอ sagittareusinternist ให้การวินิจฉัยที่ดีมากๆ ค่ะ รายนี้ต้องนึกถึง mononucleosis-like syndrome
แต่ serological testing for hepatitis B and C, Epstein-Barr virus, HIV, and CMV gave negative results จะยังนึกถึง acute HIV infection (หรือ acute retroviral syndrome) อีกไหมคะ ถ้านึกถึง จะ investigate อย่างไรต่อไป


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-09-05 , Time : 15:17:06 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 3


   ยังคิดถึง ได้ สบายๆ เลย ครับ ...

ตรวจ HIV Viral load เลย ครับ ^^


Posted by : sagittareusinternist , Date : 2008-09-07 , Time : 16:32:22 , From IP : 172.29.5.213

ความคิดเห็นที่ : 4


   ขอเฉลยค่ะ

แพทย์โรคผิวหนังได้มาตรวจดูผื่น และนึกถึง meningococcemia
ได้ทำ blood cultures และ skin-punch biopsy ที่ผื่น และให้ IV ceftriaxone

เพาะเชื้อขึ้น Neisseria meningitidis จากเลือด

skin biopsy: leucocytoclastic vasculitis, consistent with chronic meningococcemia.

ไข้เริ่มลงภายใน 24 ชั่วโมงหลังเริ่มให้ antibiotic และผื่นเริ่มจางลง

ทางรพ. ได้แจ้งหน่วยงานสาธารณสุข และให้ rifampicin 600 mg วันละ 2 ครั้งนาน 48 h แก่ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย ผู้ป่วยได้กลับบ้านหลังรักษาที่ในรพ.72 ชั่วโมง หลังจากนั้น ผู้ป่วยสบายดี

รูปและเรื่องจาก Speranza G, Javaheri S. Lancet 2008;372: 688.

โปรดอ่านกระทู้ <นักศึกษาชาย19 ปี มีไข้ ซึมลงและมีผื่น [ โรคติดเชื้อ] : chpantip ( 08:52:17 2008-08-14> ด้วยนะคะ


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-09-10 , Time : 15:59:56 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 5


   เราได้รับเชื้อ N meningitidis โดยหายใจเอาเชื้อที่อยู่ใน droplet ขนาดเล็กที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ droplet นี้ถูกขับออกมาทางลมหายใจของผู้ติดเชื้อนี้

Chronic meningococcaemia พบได้น้อย ภาวะนี้มีลักษณะโรคคือ recurrent fever, rash และปวดข้อหลายข้อ อาการอื่นๆที่พบบ่อยคือ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ ไม่พบ neck stiffness หรือ photophobia ที่เป็นลักษณะจำเพาะของ meningitis ผื่นมักเกิดขึ้น 12–24 ชั่วโมงหลังเริ่มเป็นไข้ ผื่นอาจเป็น maculopapular, petechial, pustular หรือ nodular ก็ได้ ผื่นมักหายไปเองภายใน 2-3 วันเมื่อไข้เริ่มลง

การวินิจฉัยแยกโรคคือ subacute gonococcemia, subacute bacterial endocarditis และ Henoch-Schönlein purpura

Blood cultures ได้ผลลบในผู้ป่วยส่วนใหญ่ในระยะแรกของโรค แต่มักเพาะเชื้อขึ้นในเวลาต่อมาถ้าเจาะเลือดขณะที่ผู้ป่วยมีไข้ Histopathological analysis ของ rash เป็นแบบ leucocytoclastic vasculitis ซึ่งมี perivascular inflammatory infiltrate และมีการทำลายผนังของหลอดเลือด ไม่พบ diplococci ดังที่พบใน acute meningococcemia

การรักษา ทั่วไปใช้ penicillin นาน 7 วัน third-generation cephalosporins มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน

ผู้ที่ใกล้ชิดผู้ป่วยควรได้รับการป้องกันโรคด้วย rifampicin หรือ ciprofloxacin

ในรายที่มี recurrent meningococcal infection ต้องคิดถึงภาวะ immunological deficiency (เช่นขาด terminal complement, หรือ IgG subclass)

การวินิจฉัย chronic meningococcemia อย่างถูกต้องมีความสำคัญ เพราะอาจนำไปสู่ endocarditis, meningitisหรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-09-10 , Time : 16:03:59 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 6


   ขอแก้ไขที่เขียนผิดพลาดไปค่ะ
การวินิจฉัย chronic meningococcemia อย่างถูกต้องมีความสำคัญ เพราะchronic meningococcemia อาจนำไปสู่ endocarditis, meningitis หรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

เรื่องและรูปจาก Speranza G, Javaheri S. Lancet 2008;372: 688


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-09-15 , Time : 16:14:56 , From IP : 172.29.3.68


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น