ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

Norfloxacin ใช้รักษา salmonella gastroenteritis ได้หรือไม่


   คำถามนี้ต่อเนื่องมาจากกระทู้ A 60 YOF had watery diarrhea 1 day (08:49:05 2008-07-21) ซึ่งคุณหมอ Arlim ได้ส่งคำถามมา ขอนำมาตั้งเป็นกระทู้ใหม่เพราะคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้ยากลุ่ม fluoroquinolones

ถาม Norflox เฉยๆใช้ได้สำหรับ salmonella gastroenteritis ไหมครับอาจารย์

ตอนนี้รพ.ผมมีครบเลย Norfloxacin, Ofloxacin และ Ciprofloxacin

เรื่อง ATB ในรพช. เริ่มใช้กันมั่วอีกแล้วครับ

Posted by : ArLim , Date : 2008-07-30 , Time : 03:02:21 , From IP : 61.19.67.36

ท่านสมาชิก e-consult มีความเห็นอย่างไรบ้างคะ


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-08-13 , Time : 10:58:51 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   diarrhea จาก salmonella (non typhi) ไม่จำเป็น ต้องได้ ATB
ยกเว้น ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี severe ill patient immunocompromised host
หรือ septicemia prone condition

ยา ATB ที่ใช้ได้
norfloxacin 400 mg bid x 3 days
ถ้าติดเชิ้อรุนแรง ใช้ ofloxacin 300 mg bid หรือ ciprofloxacin 500 mg bid
ถ้าติดเชื้อในกระแสเลือด ceftriaxone 1 g bid x 7-10 days

Nontyphoid Salmonella gastroenteritis is generally self-limited. A Cochrane Database Systematic Review of 12 trials showed no significant change in the overall length of the illness or the related symptoms in otherwise healthy children and adults treated with a course of antibiotics for nontyphoid Salmonella disease. Antibiotics tend to increase adverse effects and prolong Salmonella detection in stools.

Antibiotics are currently indicated for infants up to 2 months of age, elderly persons, immunocompromised persons, those with a history of sickle-cell disease or prosthetic grafts, or patients who have extraintestinal findings. Treatment for those at-risk patients should last 2-5 days or until the patient is afebrile.Nontyphoid Salmonella infections are commonly treated with fluoroquinolones and third-generation cephalosporins, such as ciprofloxacin and ceftriaxone. In 2004, the prevalence of resistance among nontyphoid Salmonella isolates was 2.6% for quinolones and 3.4% for third-generation cephalosporins.


almonella antibiotic resistance is a global concern that includes multi–drug-resistant strains.Recent outbreaks show that a connection may exist between antimicrobial drug treatment and the risk of disease from Salmonella.Subsequently, stool and blood cultures and sensitivities are important, as susceptibilities not only vary depending on region of the world but also locally.


Posted by : blackbear , Date : 2008-08-15 , Time : 01:29:20 , From IP : 172.29.22.235

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอบคุณคุณหมอ blackbear มากๆ ค่ะ คุณหมอตอบได้ดีมาก มี evidence พร้อม เชิญมาร่วมถาม-ตอบใน e-consult บ่อยๆ นะคะ

ขอกล่าวถึงยา Norfloxacin, Ofloxacin และ Ciprofloxacin ที่คุณหมอ Arlim เล่ามา

Norfloxacin จัดอยู่ในกลุ่ม 1st generation fluoroquinolones เพราะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพียง 40% ซึ่งถือว่าน้อย จึงมีที่ใช้เฉพาะใน
1. invasive bacterial diarrhea (ซึ่งมีพยาธิสภาพอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ ยาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมลงไปออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อในลำไส้ใหญ่ได้) และ
2. lower urinary tract infection (cystitis และurethritis) เพราะ norfloxacin ถูกขับถ่ายทางไต ระดับยาในปัสสาวะจึงสูงเพียงพอสำหรับรักษา mucosal infection แต่ไม่ควรใช้รักษา upper UTI ซึ่งต้องการระดับยาในเนื้อเยื่อสูงและอาจมี bacteremia ร่วมด้วย
Antimicrobial activity norfloxacin มีฤทธิ์ต้านเชื้อแกรมลบ กลุ่ม enterobacteriaciae (คือ E. coli, Klebsiella, Enterobacter, Salmonella, Shigella, ฯลฯ), Vibrio cholera และ Pseudomonas aeruginosa

ส่วน Ofloxacin และ ciprofloxacin จัดเป็น 2nd generation fluoroquinolones ถูกดูดซึมได้ดีกว่า norfloxacin คือ ciprofloxacin และ ofloxacin ถูกดูดซึม 70% และ 100% ตามลำดับ การที่ ciprofloxacin ถูกดูดซึมไม่หมด ยังเหลือ 30% ลงไปถึงลำไส้ใหญ่ทำให้มีประโยชน์ในการรักษา invasive bacterial diarrhea เช่นเดียวกับ norfloxacin และจะดีกว่า norfloxacin ในกรณีของ salmonellosis ที่มีและมีโอกาสจะมี bacteremia ด้วย

ทำไมต้องมีทั้ง ofloxacin และ ciprofloxacin อยู่ในโรงพยาบาล

ทั้ง ofloxacin และ ciprofloxacin ต่างก็มีข้อดีต่างกัน กล่าวคือ ofloxacin มี bioavailability ดีมาก คือ 100% ส่วนข้อดีของ ciprofloxacin คือมีฤทธิ์ต่อเชื้อ
แกรมลบดีที่สุด (MIC ต่ำสุด) ofloxacin ถูกขับออกทางไตอย่างเดียว จึงเป็นยาหลักสำหรับการรักษา UTI แต่ถ้าผู้ป่วยมี renal failure ก็ต้องลดขนาด ofloxacin ลงหรือมาใช้ ciprofloxacin แทนเพราะ ciprofloxacin ถูกขับออกทางไตและถูก metabolize ที่ตับด้วย สำหรับ invasive diarrhea ไม่ควรใช้ ofloxacin เพราะ ofloxacin ถูกดูดซึมไปหมด



Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-08-15 , Time : 12:38:40 , From IP : 172.29.3.68


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น