ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

หญิงอายุ 59 ปี อ้าปากไม่ขึ้นมา 4 วัน


   หญิงอายุ 59 ปี มารพ.ด้วยอาการอ้าปากไม่ขึ้นมา 4 วัน
12 วันก่อนมารพ. ขี้วัวกระเด็นเข้าตาขวาขณะที่ผู้ป่วยกวนขี้วัวเพื่อเอาไปทำปุ๋ย หลังจากนั้นมีอาการระคายตาและสู้แสงไม่ได้ 3 วันต่อมา หนังตาขวาตก ได้ไปหาแพทย์ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น acute conjunctivitis ต่อมา ผู้ป่วยมีอาการกระตุกที่หนังตาขวา หน้าซีกขวาและมุมปากด้านขวากระตุก
4 วันก่อนมารพ. ผู้ป่วยอ้าปากไม่ขึ้น กินอาหารและน้ำลำบาก
ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนใดๆ มาก่อน

PE: acutely uncomfortable and anxious. Normal vital signs.
Right eye: ptosis, lacrimation and photophobia.
Spasm of both masseter muscles with difficulty to open the mouth. Intermittent spasm of right side of her face.

คำถาม
1. การวินิจฉัยโรคคืออะไร
2. จะ manage ผู้ป่วยอย่างไร


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-08-12 , Time : 11:11:33 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   1. Tetanus (Clostridium tetani infection)
2. การรักษา
- Intubation with ventilator
- Tetanus immune globulin IM + TT vaccine
- Metronidazole IV x 10 days
- Diazepam iv drip
admit ICU and isolated room


Posted by : nongnham , E-mail : (nongnham025@gmail.com) ,
Date : 2008-08-13 , Time : 12:23:44 , From IP : 222.123.181.146


ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอบคุณคุณหมอ Nongnham มากค่ะ คุณหมอเก่งมากค่ะ เพราะ case นี้ให้การวินิจฉัยได้ยาก ต้องเป็น clinical diagnosis อย่างเดียว ไม่มี lab ที่ช่วย แต่เราก็ได้ส่ง lab นะคะ

CBC: Hct 40%, WBC 6356/cumm with normal differential count.
LP: OP 120 mm water, wbc 2/cumm, protein 15.6 mg/dl, sugar 83 mg/dl.

จากการตรวจร่างกาย ผู้ป่วยมี trismus ทำให้นึกถึง tetanus (บาดทะยัก) การรักษา ได้ให้ tetanus antitoxin, penicillin, diazepam และ IV fluid อาการเกร็งกระตุกค่อยๆดีขึ้น ผู้ป่วยกลับบ้านหลังอยู่รพ.นาน 18 วันโดยหายเป็นปกติ 2 สัปดาห์หลังจากนั้น

Tetanus มี 2 รูปแบบใหญ่ คือ generalized tetanus ซึ่งมีอาการที่สำคัญคือ lockjaw (trismus). opisthotonos และ painful spasm และอีกรูปแบบหนึ่งคือ local tetanus ดังที่พบในผู้ป่วยรายนี้ local tetanus มีลักษณะจำเพาะคือ มี stiffness และ rigidity ของกล้ามเนื้อรอบตำแหน่งที่มี injury พบ local tetanus ได้น้อยกว่า gneralized tetanus

รายนี้น่าจะเป็นผู้ป่วยบาดทะยักรายแรกของรพ.สงขลานครินทร์ ตอนนั้นหอผู้ป่วยอายุรกรรมอยู่ที่บริเวณ ER ชั้น 1 อาจารย์ธาดาตรวจผู้ป่วยรายนี้ที่ OPD แล้วตามดิฉันไปดู

Chayakul P, et al. Local tetanus. Siriraj Hosp Gaz 1985;37:897-901.

ขอถามต่อค่ะ
1. ยาปฏิชีวนะที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกใน tetanus คืออะไร
2. เมื่อผู้ป่วยดีขึ้นแล้ว จะต้องให้ tetanus toxoid แก่ผู้ป่วยอีกหรือไม่


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-08-15 , Time : 12:24:02 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 3


   ขอมาสงสัยก่อนฮะว่า อาจารย์ซักประวัติยังงัยถึงได้ว่าขี้วัวกระเด็นเข้าตาครับ

เป็นผมคงซักแต่เรื่อง ดิน แผลตามตัว หมากัด อะไรทำนองนี้มากกว่า...


Posted by : arlim , Date : 2008-08-25 , Time : 01:43:51 , From IP : 61.19.67.109

ความคิดเห็นที่ : 4


   เพิ่งมาพบคำถามของคุณหมอ arlim ค่ะ เพราะตาม copy กระทู้ต่างๆไล่ขึ้นมา

รายนี้เขามีอาการที่ตาขวามากๆ ร่วมกับมี ptosis ของตาขวาด้วยค่ะ การซักประวัติก็ได้ออกมาง่ายๆ ค่ะ


Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-10-21 , Time : 15:36:21 , From IP : 172.29.3.68


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น