A 42 YOW with a migratory rashหญิงอายุ 42 ปีมาด้วยอาการมีผื่นแดงไม่เจ็บขยายยาวขึ้นที่ลำตัวด้านซ้าย มานาน 10 วัน PE: a serpiginous, tender, erythematous patch on her left flank (รูป 1A อย่าเพิ่งดูรูป 1B นะคะ มีเรื่องเล่าต่อ) แพทย์ได้ตัดชิ้นเนื้อที่รอยโรคส่ง patho histologic analysis: a dense perivascular and interstitial eosinophilic infiltrate that mainly occupied the subcutaneous fat and the dermis. การวินิจฉัยโรคที่น่าจะเป็นมากที่สุดคืออะไร Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-08-09 , Time : 14:18:03 , From IP : 172.29.3.68 |
larva migran ได้ไหมครับ หรือ herpes zoster แต่น่าจะมีอาการแสบๆคันๆบ้าง Posted by : nimbus , Date : 2008-08-09 , Time : 19:32:57 , From IP : 172.29.19.82 |
คุณหมอ nimbus ตอบได้ถูกต้องว่าเป็น larva migrans แต่ขอถามเพิ่มว่าพยาธิอะไรคะ Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-08-10 , Time : 15:24:27 , From IP : 172.29.3.68 |
Larva migrans ของ ringworm ค่ะ Posted by : nongnham , E-mail : (nongnham025@gmail.com) , Date : 2008-08-13 , Time : 10:47:48 , From IP : 222.123.181.146 |
ขอตอนใหม่นะคะ ดูจาก lesion คิดว่าเกิดจากพยาธิที่ชื่อ Gnathostoma spirigerum ค่ะ Posted by : nongnham , E-mail : (nongnham025@gmail.com) , Date : 2008-08-14 , Time : 08:09:43 , From IP : 222.123.181.146 |
คุณหมอ Nongnham ตอบได้ถูกต้องแล้วค่ะ สาเหตุของโรคคือ Gnathostoma spinigerum (พยาธิตัวจี๊ด) ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยา albendazole (400 มก/วัน) 30 ชั่วโมงต่อมา ผู้ป่วยพบว่ามีตุ่มหนองใหม่เกิดขึ้นที่ท้องโดยมีผิวหนังรอบๆแดงมาก (ดูรูป B) ตุ่มหนองนี้เกิดขึ้นได้อย่างไ และควร manage อย่างไรต่อไป Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-08-17 , Time : 14:18:35 , From IP : 172.29.3.68 |
Diagnosis: gnathostomiasis ขณะที่เจาะตุ่มหนอง (รูป B) พบว่ามีพยาธิที่ยังมีชีวิตอยู่ในตุ่มหนองนั้น พยาธินี้คือตัวอ่อนระยะที่ 3 ของ Gnathostoma species was seen (รูปที่ 2). Gnathostomiasis เป็นโรคที่คนติดมาจากสัตว์(zoonosis) โรคนี้เกิดจาก Gnathostoma ซึ่งเป็นพยาธิในลำไส้ของแมว สุนัขและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ Gnathostoma มีอยู่ 12 species พบ Gnathostoma spinigerum บ่อยที่สุดในคน โรคนี้พบบ่อยในประเทศไทย เกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศต่างๆในอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ คนเป็นโรคนี้จากการกินปลาดิบ เช่น sushi, sashimi หรือก้อยปลา หรือจากการกินเนื้อที่ไม่สุกของสัตว์ที่ที่ได้กินปลาดิบเข้าไป เมื่อเนื้อที่มีพยาธิตัวอ่อนอยู่เข้าไปถึงกระเพาะอาหาร พยาธิตัวอ่อนถูกย่อยออกมา แล้วไชทะลุผนังกระเพาะอาหาร เดินทางเข้าสู่ช่องท้องแล้วเดินทางไปตามเนื้อเยื่ออ่อนไปสู่อวัยวะต่างๆ อาการ ผู้ป่วยมี systemic symptoms เช่น ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้องที่ลิ้นปี่ ปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อได้ อาการเหล่านี้มีรายงานว่าอาจเกิดขึ้นได้เร็ว คือ 24-48 ชั่วโมงหลังกินพยาธิตัวอ่อนเข้าไป ประมาณ 4 สัปดาห์หลังจากกินเนื้อที่มีตัวอ่อนเข้าไป เมื่อพยาธิตัวอ่อนเดินทางมาถึง subcutaneous fat classical presentation คือ migratory panniculitis ซึ่งมีลักษณะเป็น erythematous, deeply seated, ill-defined nodule or plaque โดยอาจมีอาการคันหรือเจ็บไม่มากปรากฏที่ลำตัวหรือแขนขา หลายวันต่อมา รอยโรคแบบเดียวกันอาจปรากฏใกล้ๆกับตำแหน่งเดิม migratory episodes นี้อาจเป็นอยู่นานเป็นเดือนหรือเป็นปี มีอยู่ส่วนน้อยที่ปรากฏเป็น larva migrans type ซึ่งอยู่ตื้นกว่ารอยโรคแบบแรก ดังในผู้ป่วยรายนี้ (รูป 1A) ในบางราย พยาธิตัวอ่อนจะเดินทางมาใกล้ epidermis หลังจากได้รับยาฆ่าพยาธิดังในรูป B เมื่อมีอาการต่างๆ ดังกล่าว จะพบว่ามี peripheral eosinophilia (5%50% ของผู้ป่วย) ซึ่งทำให้คิดถึง gnathostomiasis มากขึ้น พยาธิตัวจี๊ดยังทำให้เกิดโรคที่ปอด ระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ ตา และระบบประสาทกลางได้อีกด้วย การวินิจฉัยโรค gnathostomiasis อาศัยประวัติการกินปลาหรือเนื้อสัตว์ดิบ การดรวจพบลักษณะของ migratory panniculitis ร่วมกับการมี peripheral eosinophilia หรือ eosinophilic panniculitis with associated dermatitis จาก skin biopsy serologic tests โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ELISA ก็ช่วยในการวินิจฉัย การรักษา: albendazole ขนาด 400800 mg/วันนาน 1421 วันหรือ ivermectin (200 μg/kg) ครั้งเดียว ให้ยาซ้ำทุก 2 สัปดาห์จนอาการหายไป หลังได้รับยา บางรายมี papule หรือ pustule เล็กๆ ปรากฏที่รอยโรค เมื่อเจาะหรือสะกิดด้วยเข็มก็จะพบตัวอ่อนของพยาธิ การป้องกัน: ไม่กินปลาดิบหรือเนื้อสัตว์ดิบ น้ๆมะนาวไม่สามารถฆ่าพยาธิตัวอ่อนได้ รูปและเรื่อง จาก Bravo F. Clinical Infectious Diseases 2008;47:391391, 425426 Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) , Date : 2008-08-21 , Time : 12:58:58 , From IP : 172.29.3.68 |