ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

Cardiovascular complication in leptospirosis and scrub typhus


   มีคำถามจาก cardio round เมื่อ 2 วันก่อนว่า leptospirosis และ scrub typhus ทำให้เกิด myocarditis ได้มากน้อยเพียงใด

Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-08-07 , Time : 08:39:35 , From IP : 172.29.3.68


ความคิดเห็นที่ : 1


   Leptospirosis

ความผิดปกติของระบบหลอดเลือดและหัวใจ

ความผิดปกติของระบบหลอดเลือดและหัวใจใน leptospirosis มีรายงานน้อย ส่วนมากเป็นรายงานพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติโดยไม่มีอาการแสดงทางคลินิกซึ่งอาจพบได้บ่อยถึง 2 ใน 3 ของผู้ป่วย leptospirosis ที่มีภาวะแทรกซ้อนในระบบอื่นๆ เช่นตัวเหลืองตาเหลืองหรือไตวาย คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ หัวใจเต้นผิดจังหวะโดยพบ atrial fibrillation ได้บ่อยที่สุด นอกจากนี้อาจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจซึ่งบ่งถึงความผิดปกติของ conduction system ชนิดต่างๆโดยมีรายงานพบ first degree AV block ได้บ่อยที่สุด หรือความผิดปกติที่อาจเกิดจาก myocarditis หรือ pericarditis เช่น ST segment elevation เป็นต้น คลื่นไฟฟ้าหัวใจทีผิดปกติเหล่านี้มักกลับเป็นปกติหลังการรักษา

รายงานจากประเทศบราซิล อินเดีย และไทยในระยะหลัง พบผู้ป่วยทีมีความผิดปกติของระบบหลอดเลือดและหัวใจซึ่งมีความรุนแรงต่างๆกันมากขึ้น โดยมีรายงานพบตั้งแต่ร้อยละ 20-60 ของผู้ป่วยโรคนี้ ความผิดปกติที่พบบ่อยคือความดันเลือดต่ำ (systolic BP < 90 มม.ปรอท หรือ mean arterial pressure < 70 มม.ปรอท) ผู้ป่วยที่มีความดันเลือดต่ำจำนวนหนึ่งไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ทางระบบหลอดเลือดและหัวใจ ความผิดปกติอื่นๆ ที่พบได้บ่อยได้แก่ หัวใจโตจากการตรวจภาพรังสีปอดโดยไม่สัมพันธ์กับอาการทางคลินิก ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจพบ congestive heart failure จาก myocarditis หรือ pericarditis ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง เมื่อตรวจการทำงานของหัวใจด้วย echocardiography ไม่พบการทำงานของ left ventricle ผิดปกติ ส่วนผู้ป่วยที่เสียชีวิต พบว่ามี petechial hemorrhage ร่วมกับ myocarditis หรือ pericarditis ร่วมกับ pulmonary edema หรือ ARDS จากการตรวจศพ ความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดดังกล่าวพบบ่อยในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตผิดปกติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับอาการตัวและตาเหลือง

ยุพิน ศุพุทธมงคล. โรคเล็ปโตสไปโรสิส. ใน: พรรณทิพย์ ฉายากุล และคณะ,บรรณาธิการ. ตำราโรคติดเชื้อเล่ม 2. กรุงเทพฯ; สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย 2548:919-32.

ส่วน scrub typhus อาจารย์เขียนไว้สั้นๆ ดังนี้
โรคสครับ ทัยฟัสชนิดรุนแรง
ผู้ป่วยโรคสครับ ทัยฟัส ที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ในสัปดาห์ที่ 2 โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สูงอายุและไม่มีภูมิคุ้มกันมาก่อน ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ ปอดอักเสบ (pneumonia) เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ (meningoencephalitis) ตับอักเสบ (hepatitis) ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) และภาวะอวัยวะภายในล้มเหลวหลายระบบ (multiple organ failure)
……………………………………………………………………..
นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรค สครับ ทัยฟัสชนิดรุนแรงยังอาจมึภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้อีก เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (diffuse myocarditis) ภาวะช็อคจากการติดเชื้อ (septic shock) และภาวะอวัยวะภายในล้มเหลวหลายระบบ (multiple organ failure) ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

ยุพิน ศุพุทธมงคล. โรคติดเชื้อ Rickettsia (Rickettsiosis). ใน: พรรณทิพย์ ฉายากุล และคณะ,บรรณาธิการ. ตำราโรคติดเชื้อเล่ม 2. กรุงเทพฯ; สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย 2548:932-48.




Posted by : chpantip , E-mail : (chpantip@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2008-08-07 , Time : 08:43:23 , From IP : 172.29.3.68


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น