ไดออกซิน เกิดจากอะไร
เราได้รับสารไดออกซินอย่างไร
การระบาดครั้งนี้เกิดจากอะไร
สารไดออกซินมีผลต่อคนเราอย่างไร
เราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร
สำหรับนมและผลิตภัณฑ์นม ที่นำเข้าจากประเทศเนเธอร์แลนด์ และมีหนังสือผ่านการรับรองว่า ไม่มีการปนเปื้อนของสารไดออกซินตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีดังนี้
เอกสารอ้างอิง
เรียบเรียงโดย พญ.วิชชุดา ดอนสกุล
ไดออกซิน เป็นสารที่ได้จากการเผาไหม้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม เช่น การผลิตยาฆ่าหญ้า ผลิตกระดาษ การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เป็นต้น และเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด และไฟป่า
เราได้รับสารไดออกซินร้อยละ 90 จากการกินอาหารที่มีการปนเปื้อน และได้รับสารจากการสัมผัสแหล่งอื่นๆ เช่น อากาศ ดิน กระดาษ บุหรี่ เป็นต้น
พบว่า เนื้อ สัตว์ปีก นม ไข่ จากประเทศเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ มีปริมาณสารไดออกซินปนเปื้อนอยู่ในระดับสูงกว่าค่าที่ยอมรับได้ถึง 5-10 เท่า ซึ่งคาดว่าเกิดจากมีการปนเปื้อนของสารไดออกซินในอาหารของสัตว์เหล่านี้
ถ้าได้รับสารในปริมาณสูงจะทำให้เกิดโรคผิวหนัง เช่น เป็นสิว ผิวหนังกระดำกระ ด่าง ตับทำงานผิดปกติ และมีความผิดปกติทางตา เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ในเด็กจะมีผลทางด้านพัฒนาการและสติปัญญา ในหญิงตั้งครรภ์ทำให้มีความผิดปกติของทารก
ถ้าได้รับสารนี้เป็นเวลานานจะมีผลต่อระบบภูมิต้านทาน ระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ และระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ
หลีกเลี่ยงอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากประเทศเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ที่มีการปนเปื้อนของสารไดออกซน
รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ตามสัดส่วนที่เหมาะสม
นมผงสำหรับทารก:แล็คโตเย่น โกลด์, เอ็นฟาแล็ค
นมผงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก:หมี
นมดัดแปลงสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด:เอ็นฟาแล็ค
นมดัดแปลงเฉพาะโรค:เอ็นฟาแล็ค AR, โอแล็ค, ไอโซมิล, แอลซอย
อาหารเหลวสูตรครบถ้วน:ไอโซแคล, พีเดียชัวร์, เอนชัวร์
หนังสือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ สธ 0803/3/5543ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2542
หนังสือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ สธ 0803/3/5649ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2542
หนังสือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ สธ 0803/3/5752ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2542
www.who.dx/eh/dioxin/dioxin.htm
www.codex@fao.org
รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
มิถุนายน 2542
กลับไปหน้าความรู้สำหรับประชาชน