การวิเคราะห์สถานการณ์ จุดแข็ง
จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม
การสัมมนาคณะกรรมการประจำคณะ
เมื่อวันที่ 8-10 ตุลาคม 2548
สถานการณ์
1. การขับเคลื่อนทฤษฎีสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า
ซึ่งเป็นประเด็นเชิงนโยบายจากรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข สะท้อนให้เห็นภาพว่าการบรรลุผลการพัฒนาเชิงนโยบายดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบบริการรักษาพยาบาล
ไปสู่ลักษณะของการวางระบบการสร้างภูมิคุ้มกันสุขภาพ
โดยแนวคิดจะเป็นการสร้างและส่งเสริมให้เกิดดุลยภาพของสุขภาพมากกว่าการแก้ไขและรักษาพยาบาลให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ
ภาพฉายที่ต่อเนื่องจากประเด็นดังกล่าวจะพบว่า
บริบทของสังคมจะสามารถเข้ามาร่วมสร้างให้เกิดพฤติกรรมตามระบบภูมคุ้มกันสุขภาพได้มากขึ้น
ซึ่งหมายถึงว่ากระบวนการการรักษาพยาบาลและสุขภาพ
จะไม่อยู่เพียงภายในกรอบขอบเขตของโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียวเหมือนอย่างเช่นปัจจุบัน (1)
2. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก
ในอนาคตอันใกล้จะถูกนำมาบูรณาการประยุกต์ใช้ในวงการแพทย์มากขึ้นและเป็นไปได้อย่างก้าวกระโดด
สะท้อนให้เห็นภาพของการพลิกโฉมการพัฒนาจากการใช้งานในระดับ Information Technology ในปัจจุบัน เป็นการปรับใช้เทคโนโลยีสู่ระบบการวินิจฉัยการป้องกันและการรักษาทางการแพทย์อย่างก้าวกระโดด(1)
และพัฒนาการที่ต่อเนื่องในกรณีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในวงการแพทย์
ดังกล่าวนี้ฉายภาพที่เชื่อมโยงไปสู่รูปแบบการบริการสุขภาพในลักษณะที่เป็น genetic engineering ที่จะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคทางกรรมพันธุ์ สร้างเสริมความต้านทานโรค
วัคซีนใหม่เป็นต้น และพัฒนาการในอนาคตอันใกล้จะก้าวเข้าสู่รูปแบบการนำ nano-technology
มาใช้เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรค
รวมทั้งการพัฒนา SMART MATERIAL มาใช้ทางการแพทย์ (1)
3. กระแสภูมิปัญญาตะวันออก ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการรักษาพยาบาลจะเป็นแรงเคลื่อนเชิงบวกที่ได้รับความยอมรับและนำสู่การปฏิบัติตนมากขึ้น
ในขณะเดียวกันกระแสการรณรงค์ด้านสุขภาพในสังคมที่ต่อเนื่อง
อาทิเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือการส่งเสริมการรับประทานผัก ผลไม้
การลดอาหารมัน-รสจัด การส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ทำให้การเจ็บป่วยที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้คนจะน้อยลง
ทางเลือกของการบริการด้านการรักษาพยาบาลตะวันออก
เนื่องจากผู้ป่วยและประชาชนจะเป็นผู้เลือกการบริการด้านสุขภาพตามที่ตนเองสนใจ
กระแสแพทย์ทางเลือกจะได้รับความนิยมมากขึ้น (1)
4. การจัดระบบจ่าย/ชำระค่ารักษาพยาบาล ( payment system ) มีการดำเนินการโดย
third party payer เป็นผู้จ่ายเงิน ( จากภาษีของรัฐ )
แทนประชาชน พร้อมการกำกับ ตรวจสอบและปรับวิธี
การจ่ายเงินจาก free-for-service มาเป็น Capitation
และ DRG ทำให้สถานพยาบาลต้องปรับรูปแบบและวิธีให้บริการอย่างมาก
ภาพที่พึงจะเป็นจริงได้ต่อไปในอนาคตคือ
การพัฒนาระบบดังกล่าวทั้งหมดสามารถเอื้อให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมให้บริการรักษาพยาบาลได้ช้า-เร็ว
เพียงใด ซึ่งหมายถึงว่าการแข่งขันจะเริ่มก้าวเข้าสู่ระบบเปิดมากขึ้น (1)
5. ทิศทางการพัฒนาในระยะแผน
ฯ 10 (2)
1.)
การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ : พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถของคนไทย
เสริมสร้างองค์ความรู้และภูมิปัญญาแก่คนไทย รวมทั้งการปฏิรูประบบการเรียนการสอน
2.)
การพัฒนาสังคมเชิงรุก : การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีแก่ประชาชนทุกวัย
สร้างความมั่นคงและปลอดภัยให้คนและสังคม เสริมสร้างสังคมสันติสุข
และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงอายุ
3.)
การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ : การพัฒนาศักยภาพระบบโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์
การเพิ่มผลิตภาพในการผลิต การค้า และบริการ การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร
เครือข่ายและกลไกเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน
รวมทั้งการยกระดับความสามารถทางเทคโนโลยี การต่อยอดทางนวัตกรรม
4.)
การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี : สร้างและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมที่ตอบสนองการผลิตบริการ และการตลาด
5.)
เสริมสร้างความสมดุลของการพัฒนา : แก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้
สร้างความมั่นคงให้กับชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
รักษาความสมดุลและยั่งยืนเชิงนิเวศน์ รวมทั้งแก้ไขปัญหายาเสพติด
สร้างความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และความเป็นธรรมในสังคม
6.)
การบริหารจัดการที่ดีของภาคีการพัฒนา : เร่งสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน
เสริมสร้างธรรมาภิบาลให้กับภาคีการพัฒนา รวมทั้งภาคประชาชน เสริมสร้างธรรมาภิบาลให้กับภาคีการพัฒนา
รวมทั้งเสริมสร้างและปรับปรุงระบบ กลไกเอื้อต่อการบริหารจัดการที่ดีของทุกภาคีการพัฒนา
จุดแข็ง /
จุดอ่อน (1)
จุดแข็ง |
จุดอ่อน |
1.
คณะแพทยศาสตร์มีระบบบริหารที่ต่อเนื่อง
ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ เปิดกว้างทางความคิด ยอมรับความคิดเห็นของบุคลากรในองค์กร 2.
เป็นผู้นำระบบการเรียนการสอนแบบ Problem Base Learning (PBL)
และด้านแพทยศาสตรศึกษา 3.
เป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลของภาคใต้
เนื่องจากเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งเดียวในภาคใต้ 4.
เป็นผู้นำด้านระบบคุณภาพ โดยนำ HA TQA มาใช้ในการบริหารจัดการ
ทำให้องค์กรพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 5.
มีหน่วยระบาดวิทยาที่เข้มแข็ง
เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ และสามารถเลี้ยงตัวเองได้ 6.
มีอาจารย์ที่มีความสามารถในการวางแผนและทำวิจัยระดับชาติ 7.
มีระบบการวางแผน การบริหารงานตามแผน
การติดตามตัวชี้วัด (KPIs)
และผลการดำเนินงาน อย่างเป็นระบบ 8.
บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 9.
บุคลากรมีความมุ่งมั่นในการทำงาน
ยอมรับการเปลี่ยนแปลง การประเมิน พร้อมรับภาวะวิกฤต 10.
มีระบบการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการให้กับบุคลากรที่ดีกว่าในระบบราชการเดียวกัน 11.
มีระบบสารสนเทศทางด้านงานบริการรักษาพยาบาล (HIS) ที่ทันสมัย
สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
1.
โครงสร้างซับซ้อน สายการบังคับบัญชายาว
วัฒนธรรมองค์กรมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนจากทำงานด้วยใจ เป็นการแข่งขันมุ่งค่าตอบแทน 2.
ขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุก การส่งเสริม Health promotion ยังไม่จริงจัง และความร่วมมือลดลง 3.
ขาดการเตรียม sussession plan ทั้งสายบริหารและสายวิชาชีพ
จำนวนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ไม่ได้สัดส่วนกับงาน
ความก้าวหน้าในบางสายวิชาชีพยากและช้า 4.
บริหารทรัพยากรยังไม่เต็มประสิทธิภาพ
(ครุภัณฑ์ราคาแพง ห้องผ่าตัด เตียง) 5.
อัตราการลาออก / โอนย้าย มีอย่างต่อเนื่องและขาดแคลนอัตรากำลังและขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ 6.
เกิดการแข่งขันในเรื่องค่าตอบแทนกับโรงพยาบาลเอกชน 7.
เข้าถึงบริการยาก ไม่เท่าเทียม
มีข้อจำกัดในการให้บริการและขาดการประสานเชื่อมโยงในบางส่วน 8.
รัฐบาลขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างจริงจังทั่วทั้งองค์กร
และความร่วมมือกับโรงพยาบาลข้างเคียง ชุมชน และองค์กรท้องถิ่นมีน้อย 9.
นักศึกษามีปัญหาด้านวุฒิภาวะ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
การแสดงออก มี EQ
และความตั้งใจในการเป็นแพทย์น้อย (ไม่เข้าใจในวิชาชีพแพทย์) 10.
นักศึกษาไม่มั่นใจความรู้ในสิ่งใหม่ๆ ขาด critical analytical
thinking หรือความสามารถในการบูรณาการความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิมหรือนำมาแก้ไขปัญหาแวดล้อมใหม่ 11.
ควรมีระบบที่พัฒนาเจตคติของอาจารย์ในด้านความเป็นครูที่จะสอนและเป็น
role model ในความเป็นแพทย์ที่ดี สมาชิกของชุมชนที่ดี (medical
professionallism) 12.
อาจารย์ขาดทักษะในการสอน PBL และนักศึกษาไม่มั่นใจในระบบการเรียน การสอน PBL ทำให้การเรียนการสอนไม่ บรรลุวัตถุประสงค์ 13.
วิธีการประเมินผลวัดได้ไม่ครบกระบวนการเรียนการสอนและวัตถุประสงค์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านจริยศาสตร์ medical professionalism 14.
ยังไม่ค่อยมีข้อมูลพื้นฐานในการชี้นำสังคมในการทำหลักสูตร
(health or
burdens of health in the region) 15.
การบูรณาการและสร้างเครือข่ายระหว่างคณะและสถาบันอื่นยังไม่ดีเท่าที่ควร 16.
การบูรณาการงานบริการ, การเรียนการสอน,
และวิจัยเข้าด้วยกัน ยังต้องมีการพัฒนา 17.
มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ อุปกรณ์พร้อม
และมีหน่วยระบาดวิทยาที่เข้มแข็งสามารถให้คำแนะนำในการทำวิจัยได้
แต่ขาดผู้นำกลุ่มวิจัยที่จะรวบรวมกลุ่มคนที่มีความสามารถมาร่วมทำงานวิจัย 18.
งานวิจัยที่ชี้นำสังคมยังมีน้อย |
โอกาส /
ภัยคุกคาม (1)
|
Threat |
1.
มีแหล่งความรู้และปราชญ์ท้องถิ่นซึ่งสามารถบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเรียนการสอนได้ 2.
การออกนอกระบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล
ทำให้มีอิสระในการกำหนดนโยบายในการบริหารงาน 3.
อยู่ในเขตภาคใต้ใกล้กับประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์
ทำให้มีการแลกเปลี่ยนอาจารย์/นักศึกษาได้ง่าย 4.
เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งเดียวในภาคใต้ ทำให้มีผู้ป่วย จำนวนมากและหลากหลาย
เหมาะแก่การทำวิจัย 5.
ประชาชนสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น มีความรู้มากขึ้น
สนใจแพทย์ทางเลือก 6.
นโยบายรัฐบาลสนับสนุน 7.
การขยายตัวของระบบประกันสุขภาพเอกชน (ขยายฐานลูกค้า) |
1.
มหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบ ทำให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณน้อยลง
โดยจะสนับสนุนโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาล แต่งบประมาณที่ได้จะให้ตามหัวนักศึกษาแพทย์,
ไม่จริงใจในการสนับสนุนงบประมาณ และนโยบายสนับสนุนการศึกษาเปลี่ยนแปลงบ่อย ขาดความยั่งยืนต่อเนื่อง 2.
การออกนอกระบบทำให้บุคลากรรู้สึกไม่มั่นคง 3.
ตามเทคโนโลยีไม่ทัน และติดกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
(อุปสงค์เทียม)
เบี่ยงเบนเป้าหมายที่แท้จริงของการดูแลรักษาสุขภาพโดยนำไปผูกพันกับการตรวจที่ดูทันสมัย
ราคาแพง 4.
สังคมวัตถุนิยม,
ระบบส่งเสริมคุณค่าภายในของปัจเจกบุคคลไม่ชัดเจน 5.
ผลกระทบเกิดจากระบบกองทุน ICU ต้องอุดหนุนระบบการจัดการศึกษาจากรายรับ
ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ระยะเวลาการชำระหนี้นานขึ้น 6.
แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว อันเป็นผลมาจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันมีราคาสูง
ก่อให้เกิดอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้เกิดกำลังซื้อลดลง และมีผลกระทบใน เชิงลบ คือ การจัดสรรงบประมาณของรัฐ 7.
ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังทำให้ต่างประเทศไม่มั่นใจในการให้เงินทุนวิจัย 8.
การที่โรงเรียนแพทย์ขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ
ทำให้การพัฒนา/งบประมาณได้รับไม่เท่าเทียมกับกระทรวงสาธารณสุข 9.
รัฐให้ความสำคัญกับโครงการผลิตแพทย์เพิ่ม
แต่ไม่ได้สนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ได้แก่ สถานที่ อาจารย์ 10.
การแข่งขันของโรงเรียนแพทย์ในประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งรัฐบาลและเอกชนทำให้สูญเสียบุคลากร/ลูกค้า
อีกทั้งมีการปรับเปลี่ยนระบบการสอบคัดเลือก 11.
พื้นฐานการวิจัยของประเทศไทยยังไม่ เข้มแข็งพอ 12.
การปฏิรูประบบสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการจะเป็นระบบเปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขันได้ 13.
การปรับเปลี่ยนนโยบายสาธารณสุข เช่น
การให้เครดิตโรคเรื้อรัง 4 โรค ทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียน
และต้องปรับเปลี่ยนระบบบริหารให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง 14.
ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
มีระบบการจ่ายเงินที่ไม่แน่นอน มีผลให้เงินสดหมุนเวียนของโรงพยาบาลลดลง 15.
ในปัจจุบันผู้ป่วยและญาติรู้จักสิทธิผู้ป่วย มากขึ้นและพร้อมที่จะเรียกร้องสิทธิ 16.
มาตรการกำหนดขนาดกำลังคนภาครัฐของรัฐบาล |
หมายเหตุ (1) การวิเคราะห์สถานการณ์จุดแข็ง
จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม เอกสารประกอบการสัมมนาคณะกรรมการประจำคณะ
ทิศทางและนโยบายการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์
ใน 5 ปีข้างหน้า (ปีงปม.2550 2554)
เมื่อวันที่ 8 10 ตุลาคม 2548
ณ อมารี รีสอร์ท
ตรัง
(2)
กรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในระยะ 4
ปี (2548 2551) สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
วันที่ 11 มกราคม 2548