ข้อปฏิบัติในการเก็บและส่งตัวอย่าง
สิ่งส่งตรวจ |
วิธีการเก็บและส่งตัวอย่าง |
เลือด |
1.
ทำความสะอาดบริเวณที่เจาะเลือดด้วย 1-2% tincture iodine หรือ betadine แล้วใช้สำลีชุบ
70% alcohol เช็ดออกควรปล่อยให้บริเวณที่เช็ด แห้ง ก่อนเจาะเลือด หากผู้ป่วยแพ้
iodine ให้ใช้ 70% alcohol เช็ดสองครั้ง
2. เจาะเลือดใส่ขวด BacT/Alert culture bottle ตามขนาดที่เหมาะสม |
CSF,
Body fluid |
การเก็บทำเช่นเดียวกับส่งเพาะเชื้อจากเลือดแต่ควรเก็บให้ได้ปริมาณมากที่สุด (อย่างน้อย 1 ml.) ใช้ขวด sterile หรือขวดที่บรรจุ media เหลว (ขวด body fluid) ไม่ควรใช้ขวดชนิดเดียวกับ hemoculture นำส่งทันที หากไม่สามารถ ส่ง ได้ให้วางที่อุณหภูมิห้อง ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ห้ามเก็บในตู้เย็น |
Pus |
|
Throat |
ใช้ไม้พันสำลี (swab) สัมผัสและหมุนช้า ๆ บริเวณต่อมทอนซิล กล่องเสียง หรือบริเวณที่มีการอักเสบ บวมแดง นำ swab ใส่ลงใน transport media นำส่งห้องปฏิบัติการทันที ถ้าส่งทันทีไม่ได้ให้เก็บในตู้เย็นไม่เกิน 2 ชั่วโมง |
Sputum |
ให้ผู้ป่วยเก็บเสมหะตอนเช้าหลังตื่นนอนใหม่
ๆ โดยบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ตรวจสอบก่อนส่งว่าเป็นเสมหะไม่ใช่น้ำลาย
ถ้าเป็นน้ำลายต้องเก็บใหม่ อาจพบเชื้อประจำถิ่นในช่องปากได้เช่นเดียวกับการเพาะเชื้อจาก
throat swab การส่ง sputum เพื่อเพาะเชื้อ AFB ส่งวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3
วัน นำส่งห้องปฏิบัติการทันที ถ้าไม่สามารถส่งได้ทันที ให้เก็บในตู้เย็น |
Urine |
เก็บแบบ mid-stream urine (MSU) ถ้าผู้ป่วยใส่ uretheral catheter ให้ใช้ syringe ดูดจากสายยางหลังจากเช็ดสายยางด้วย antiseptic กรณีผู้ป่วยไม่สามารถถ่ายได้เองอาจเก็บโดยสวน catheter หรือทำ suprapubic aspiration นำใส่ภาชนะปราศจากเชื้อ (sterile) ระบุประเภทของปัสสาวะที่ฉลากและใบ request ให้ชัดเจน (mid-stream urine, catheterized urine หรือ suprapubic aspirated urine) ปิดฝาสนิทป้องกันการหกเลอะเทอะและปนเปื้อนของเชื้ออื่น นำส่งทันที ถ้าส่งไม่ได้ให้เก็บในตู้เย็น ห้ามทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเกิน 2 ชั่วโมง |
Stool
or rectal swab |
การเพาะเชื้อ Clostridium difficile จะต้องเป็น stool เท่านั้นโดยเก็บใส่ขวด sterile การเพาะเชื้อ Campylobacter ต้องเป็น rectal swab ใส่ใน transport media นำส่งทันที ถ้าส่งไม่ได้เก็บที่อุณหภูมิห้องไม่เกิน 2 ชั่วโมง |
Anaerobe |
|
Fungus
|
|