ความสำคัญของธาตุเหล็กที่มีต่อการบริจาคโลหิต

 

โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก

         

          เมื่อร่างกายต้องสูญเสียโลหิตไปเป็นจำนวนมากๆ    เช่นผ่าตัดใหญ่ คลอดบุตร ได้รับอุบัตเหตุเสียโลหิตมาก สตรีมีประจำเดือนที่มากผิดปกติ (ปกติประมาณ 60-80 มิลลิลิตร/เดือน) รวมไปถึงการบริจาคโลหิต (ครั้งละ 350-450 มล.) แผลในกระเพาะอาหารที่มีโลหิตออก ริดสีดวงทวารที่มีโลหิตออกเรื้อรัง  หรือมีพยาธิปากขอในลำไส้เป็นต้น  ในภาวะเหล่านี้ร่างกายจะสูญเสียมากกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการป้องกันและแก้ไข จะนำไปสู่การเกิดภาวะโลหิตจาง จากการสูญเสียธาตุเหล็ก

 

 

ธาตุเหล็กสำคัญต่อการสร้างโลหิต

       โภชนาการของท่านในวันนี้อาจจะไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ ที่จะเป็นผู้บริจาคโลหิตที่มีคุณภาพ ได้เพราะเหตุว่าท่านอาจได้รับธาตุเหล็กจากอาหารยังไม่เพียงพอ โปรดสำรวจดูว่าท่านได้ปฏิบัติตัวให้เหมาะสม ที่จะเป็นผู้บริจาคประจำในระยะยาวได้หรือไม่ โดยไม่ประสบปัญหาเกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก และโลหิตจางเสียก่อน และปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะดี ร้อยละ 70 ของธาตุเห็กในร่างกาย อยู่ในเม็ดโลหิตแดงในรูปที่เรียกว่า ฮีโมโกลบิน เมื่อเม็ดโลหิตแดงมีอายุประมาณ 160 วัน ก็จะสลายไป ส่วนธาตุเหล็กที่ออกจากเม็ดโลหิตแดง จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ หรือเก็บสะสมไว้ในร่างกายถึงร้อยละ 97    

 

อาหารที่มีธาตุเหล็ก

        

                โดยปกติร่างกายได้รับธาตุเหล็กทางเดียวเท่านั้นคือ จากอาหารที่รับประทาน โดยร่างกายจะดูดซึมธาตุเหล็กได้ประมาณ 1 และ 1.5 มล. ในผู้ชายและผู้หญิง ตามลำดับจะดูดซึมได้เพิ่มขึ้นในภาวะร่างกายขาดธาตุเห็ก แต่จะไม่เกิน 3-4 มิลลิกรัม/กรัม 

            ธาตุเหล็กที่มีอยู่ในอาหารแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ชนิดที่มีอยู่ในอาหารที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อ เลือด เครื่องในและไข่  และชนิดที่พบอยู่ในพืช ผัก ผลไม้ ธัญชาติ (ข้างกล้อง ลูกเดือย ข้างฟ่าง ฯลฯ) และถั่วต่างๆ สารอาหารที่มีธาตุเหล็ก อาทิ ผักใบเขียว ผักหวานสวน มะเขือพวง งาขาว งาดำ ซึ่งพืชผักผลไม้ที่มีวิตามินสูง จะช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกายได้ดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยอื่นๆด้วย เช่นปริมาณธาตุเหล็กที่มีอยู่ในร่างกาย  วัยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต สตรีในช่วงมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ รวมถึงภาวะที่สูญเสียโลหิตและโลหิตจาง

 

 

ยาธาตุเหล็กสำหรับผู้บริจาคโลหิต

 

          โดยปกติร่างกายจะเสียธาตุเหล็กจากการหลุดลอกของเซลล์ผนังลำไส้ และเซลล์อื่นๆไปเป็นปริมาณที่น้อยมาก คือประมาณ 1 มล./วันในผู้ชาย และ 1.5 มล. /วันในผู้หญิง (เท่ากับที่ได้รับจากอาหาร) การมีประจำเดือน แต่ละเดือน ผู้หญิงจะสูญเสียธาตุเหล็กประมาณ 30-40 มล. ส่วนการบริจาคโลหิตแต่ละครั้ง จะสูญเสียธาตุเหล็กประมาณ 150- 200 มล. ซึ่งการสูญเสียธาตุเหล็กดังกล่าว จะสามารถป้องกันและแก้ไขได้ 

          จากการศึกษาในผู้บริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย พบว่าส่วนใหญ่ ถึงร้อยละ 40 ของผู้ที่ไม่สามารถบริจาคได้ทั้งๆที่อยากบริจาคและดูแข็งแรงดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงมีสภาวะโลหิตจาง หรือ ความเข้มข้นของโลหิตไม่เพียพอ  เมื่อเจาะโลหิต 1 หยดจากปลายนิ้ว หยดลงไปในน้ำยาสีฟ้าซึ่งเป็นน้ำยา ตรวจความ เข้มข้นของโลหิต  หยดโลหิตจะลอยอยู่หรือจมลงช้าๆ ซึ่งหมายความว่าความเข้มข้นของโลหิตน้อยกว่า 13 กรัม /ดล. ในผู้ชาย ถ้าความเข้มข้นของโลหิตเพียงพอ หยดโลหิตจะจมลงทันที

          สำหรับผู้บริจาคโลหิตทุกท่าน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะจัดยาเม็ดธาตุเหล็ก "เฟอร์รัลซัลเฟต"  ให้กับผู้บริจาค โลหิตทุกท่าน ผู้หญิงรับประทาน 30 วัน วันละ 1 เม็ด ผู้ชายรับประทาน 15 วัน วันละ 1 เม็ด หลังอาหารเย็น การรับ ประทานยานี้อาจมีอุจจาระสีดำ เพราะธาตุเหล็กส่วนใหญ่ไม่ถูกดูดซึม และทำปฏิกิริยา กับก๊าซออกซิเจน และกรด ในกระเพาะอาหารและลำไส้  จึงขอเน้นให้ผู้บริจาคโลหิตทุกท่านกินยาเม็ดธาตุเหล็กจนหมดที่มอบให้ไป

         ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาสภาวะสมดุลย์ของร่างกาย ให้สามารถบริจาคโลหิตได้ทุกสามเดือน ตลอดไปจนถึงอายุ 60 ปี ผู้บริจาคโลหิตจึงควรบริจาคโลหิต ในขณะที่รู้สึกว่าร่างกายของตนสมบูรณ์เท่านั้น ไม่ควรฝืนใจบริจาคโลหิต ทั้งๆที่รู้สึกว่าร่างกายของตนไม่ปกติ หลังจากบริจาคโลหิตแล้ว  ควรรับประทานอาหารให้ถูกส่วนและที่มีธาตุเห,้กสูง  หากท่านปฎิบัติตัวตามคำแนะนำดังกล่าวข้างต้น ท่านจะไม่เกิดภาวะโลหิตจางอย่างแน่นอน โลหิตของท่าน จะมี ความเข้มข้นทุกครั้งที่มาบริจาค  ระบบโลหิตในร่างกายมีโลหิตใหม่ที่มีคุณภาพหมุนเวียนทดแทน โลหิตเก่าที่ออกไป ส่งผลให้เป็นผู้ที่มีผิวพรรณสดใส ไม่อ่อนเพลีย มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงดีตลอดไป

กลับเมนู