ความรู้เรื่องของหมู่โลหิต

ความสำคัญของโลหิต

          โลหิตในร่างการเรามีหน้าที่หลายอย่าง  คือเม็ดโลหิตแดง  มีหน้าที่ขนส่งก๊าซออกซิเจนจากการหายใจเข้า  และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ออกจากร่างกาย เมื่อหายใจออก   น้ำพลาสมา มีหน้าที่ในการขนส่งอาหาร โดยการดูดซึม สารอาหารจากกระเพาะ อาหารและ ลำไส้เข้าสู่กระแสโลหิต แล้ว ไหลเวียนส่งต่อให้เซลล์เนื้อเยื่อ ของอวัยวะทั่วร่างกายตลอดจน นำสารคัดหลั่งฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ ให้สามารถส่งต่อไปยังอวัยวะต่างๆ ที่ต้องการ สารสังเคราะห์ชนิดนั้นๆ นอกจากนี้โลหิตยังมีหน้าที่รักษาดุลย์ของน้ำและเกลือแร่ รวมทั้งปรับระดับอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ ด้วยการไหลเวียน ของโลหิตไป ทั่ว ร่างกาย

 
 

ความหมายของหมู่โลหิต

          หมู่โลหิตหมายถึง สารชีวเคมีพวกไกลโคโปรตีน หรือไกลโคไลปิค ที่ร่างกายสร้างขึ้น และปรากฏบนผิวเม็ด โลหิตแดง อาจพบบนเซลล์เนื้อเยื่อ ต่างๆ ของร่ากายเช่น ผม ผิวหนัง ในโลหิตบางหมู่ เช่น ABH หรืออาจพบในพลาสม่า หรือน้ำคัดหลั่งในโลหิตบางหมู่

 
 

ความสำคัญของหมู่โลหิต

          ในปัจจุบันทุกท่านควรทราบว่า ตนเอง มีหมู่โลหิตอะไร  เพราะมีความสำคัญอย่างมากต่อการรับโลหิต และการบริจาคโลหิต ในกรณีเร่งด่วน ฉุกเฉินโดย  สรุปแล้วมีดังนี้

           1. เป็นลักษณะจำเพาะที่พบบนเม็ดโลหิต ทำให้แบ่งเป็นหมู่ต่างๆกันไปในแต่ละบุคคล
           2. สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดปฏิกิริยาจากการรับโลหิตผิดหมู่ได้

           3. ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยการควบคุมของยีน จึงใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์ทางนิติเวช และใช้ศึกษาการสืบเชื้อสายของเหล่าพันธุ์มนุษย์ได้

          หมู่โลหิตสามารถจำแนกได้มากมายหลายระบบ ซึ่งมากกว่า 20 ระบบ  ระบบหมู่โลหิตที่สำคัญที่มนุษย์ทุกคนควรทราบได้แก่  หมู่โลหิตระะบบ ABO และระบบ Rh

หมู่โลหิตระบบ ABO

          การค้นพบหมู่โลหิตระบบนี้เริ่มในปี คศ.1900 โดยคาร์ล แลนด์ สไตเนอร์ ได้ทดลองเจาะโลหิตของผู้ร่วมงานจำนวน 6 คน แล้วนำมาแยก เม็ด โลหิตแดง และน้ำเหลืองออกจากกัน ต่อจากนั้นได้นำเม็ดโลหิตแดงและน้ำเหลืองของแต่ละคนมาทำปฏิกิริยาสลับกันไปมา  ปรากฏว่า บางคู่ ู่เกิดปฏิกิริยา จับกลุ่ม  บางคู่ก็กลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จากปรากฏการณ์นี้ต่อมาในปี คศ.1901 คาร์ลแลนด์ สไตเนอร์ จึงสรุปผลการทดลองค้นคว้าว่าโลหิตแบ่งออกเป็น 3 หมู่ คือ A,B และ O สำหรับหมู่ที่ 4 คือ AB พบโดย วอนเคอ คาสติโล และสเตอลิ ในปี คศ. 1902

การจำแนกหมู่โลหิตในระบบ ABO

          จะมีสารชีวเคมี (Antigen) เป็นตัวจำแนกหมู่โลหิต คือ แอนติเจน A(Antigen-A) และแอนติเจน-บี (Antigen-B) เป็นตัวกำหนดกล่าวคือ
          หมู่โลหิต A คือหมู่โลหิตที่มีแอนติเจน-เอ (Antigen-A) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดงและมีแอนติบอดี-บี (Antibody-B) อยู่ในน้ำเหลือง
          หมู่โลหิต B คือหมู่โลหิตที่มีแอนติเจน-บี (Antigen-B) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดงและมีแอนติบอดี-เอ (Antibody-A) อยู่ในน้ำเหลือง
          หมู่โลหิต O คือหมู่โลหิตที่ ไม่มีแอนติเจน-เอ (Antigen-A) และแอนติเจน-บี (Antigen-B) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง แต่มีแอนติบอดี-เอ(Antibody-A) และมีแอนติบอดี-บี (Antibody-B)  อยู่ในน้ำเหลือง
้           หมู่โลหิต AB  คือหมู่โลหิตที่มีแอนติเจน-เอ (Antigen-A) และแอนติเจน-บี (Antigen-B) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง แต่ในน้ำเหลือง ไม่มีแอนติบอดี-เอ(Antibody-A) และแอนติบอดี-บี (Antibody-B)  
 
ี่ 

 การถ่ายทอดหมู่โลหิตระบบ ABO ของพ่อ แม่ ลูก ที่เป็นไปได

หมู่โลหิตของพ่อ หมู่โลหิตของแม่ หมู่โลหิตของลูกที่เป็นไปได้
O O O
O A O หรือ A
O B O หรือ B
O AB A หรือ B
A A A หรือ O
A B O หรือ A หรือ B หรือ AB
A AB A หรือ B หรือ AB
B B B หรือ O
B AB A หรือ B หรือ AB
AB AB A หรือ B หรือ AB
         จะเห็นได้ว่าหมู่โลหิตของลูกไม่จำเป็นต้องเหมือนหมู่โลหิตของพ่อ และแม่เสมอไปแต่เนื่องจากหมู่โลหิตมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม  การตรวจสอบหมู่โลหิตจึงมีประโยชน์ในการตรวจสอบความเป็นพ่อแม่ลูก

หมู่โลหิตระบบ Rh

          หมู่โลหิตของมนุษย์เรานอกจากจะมีระบบ ABO แล้ว ยังมีหมู่โลหิตอีกระบบหนึ่งที่มีความสำคัญเรายังรู้จักกันน้อย คือหมู่โลหิตระบบอาร์เอช (Rh) การค้นพบหมู่โลหิตระบบ Rh นั้น ในปี คศ.1939 มีนักวิทยาศาตร์ 2 คน ชื่อ เลอวิน และ ลีแวน เวล สเต็ดสัน ได้พบว่า หลังจากที่ทำการถ่ายโลหิต ให้สตรีผู้หนึ่ง ซึ่งเสียโลหิตจากการคลอดบุตรที่ตายในครรภ์นั้น มีปฏิกิริยากับน้ำเหลืองของมารดา ทำให้เม็ดโลหิตแดงของบุตรแตก ในตอนนั้นเข้าใจว่า สตรีผู้นั้นได้รับสารชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะต่างจากเม็ดโลหิตแดงของลูก ต่อมาในปี คศ.1940 มีนักวิทยาศาสตร์อีก 2 คน คือ คาร์ล แลนด์ สไตเนอร์ ร่วมกับ อเล็กซานเดอร์ วินเนอร์ ทำการทดลองฉีดเม็ดโลหิตแดงของลิง และยังทำปฏิกิริยากับเม็ดโลหิตแดงของคนทั่วไปอีกจำนวน 84 % ต่อมาภายหลัง ได้พบ ปรากฏการณ์เช่นนี้อีกในคน 3 คน ที่ได้รับโลหิตหมู่ ABO ที่ตรงกัน จึงเชื่อว่าเกิดจากโลหิตหมู่พิเศษ นอกเหนือไปจากหมู่โลหิต ABO และได้ตั้ง หมู่ ู่โลหิตนี้ว่า อาร์เอช (Rh)

การจำแนกหมู่โลหิตระบบ Rh

          จะมีสารโปรตีนที่อยู่บนผิวของเม็ดเลือดแดง ซึ่งเรียกว่า แอนติเจน-ดี (Antigen-D) เป็นตัวบ่งบอกหมู่โลหิตระบบ Rh(D)  แบ่งออกเป็น 2 หมู่คือ
          1. หมู่โลหิต Rh บวก (Rh positive) คือหมู่โลหิตที่มีแอนติเจน-ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง ในคนไทยมีหมู่โลหิต Rh (D) บวกประมาณ 99.7 %
          2. หมู่โลหิต Rh ลบ (Rh negative)  คือหมู่โลหิตที่ไม่มีแอนติเจน-ดี (Antigen-D) อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง ในคนไทยพบว่า มีหมู่โลหิตนี้เพียง 0.3 % หรือ 1,000 คน จะพบเพียง 3 คนเท่านั้น ซึ่งเราเรียกว่า " หมู่โลหิตหายาก " หรือ " หมู่โลหิตพิเศษ " นั่นเอง

สถิติหมู่โลหิตของคนไทย

O 38 %
B 34 %
A 21 %
AB 7 %
Rh (D) (-) 0.03 %

กลับเมนู